วันที่ 23 เดือน มกราคม 2561 เวลา 08:00-11:30 น
ในวันนี้จะเรียนในเรื่องเกี่ยวกับ ทฤษฏีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ จะเล่าเนื้อหาคราวๆก่อนเพื่อที่จะมอบหมายงานให้กับนักศึกษาโดยเเยกเป็นกลุ่มงาน เนื่อหาที่เรียนในวันนี้จะประมาณนี้ตอนท้ายคาบก็ดูละคร ฟ้ามีตา
ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระหรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระหรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณแรงขับโดยสัญชาติญาณแรงขับ ดังกล่าวมี 3 ประเภท ได้แก่ แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido) แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive) และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว (aggressive drive)
โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ
อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม
ขั้นตอนของพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นปาก (Oral Stages) อายุแรกเกิด –18 เดือน
ขั้นที่ 2 ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กวัย 2 – 3 ปี
ขั้นที่ 3 อวัยวะเพศขั้นต้น (Phallic Stage) เป็นระยะพัฒนาการบุคลิกภาพของวัย 3 – 5 ปี
ขั้นที่ 4 ขั้นพัก/ขั้นแฝง (Latency Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของวัย 5 – 12 ปี
ขั้นที่ 5 ขั้นอวัยวะเพศ (Genital Stage) เป็นระยะสนใจเพศตรงข้าม วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว 12 ปี ขึ้นไป
ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสันอีริค
อีริคสัน(Erik H. Erikson) เป็นนักจิตวิทยา พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัววัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดีเด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นในตนเองในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ
(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจ
และไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 2 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative
versus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี
ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล
อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) เป็นนักจิตวิทยาที่มี
ความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะโดยกล่าวว่า “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
อย่างมีระเบียบโดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”“วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบโดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”กีเซลเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้นการฝึกฝนหรือการเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดก็ตามจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุถ้าหากร่างกายยังไม่พร้อมหรือยังไม่มีวุฒิภาวะ
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของกีเซล
1. ทิศทางของการพัฒนาการ (development direction)
- Cephalocaudal - Proximal distal
2. พัฒนาการมีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวเนื่องกัน (reciprocal interweaving)
3. พัฒนาการมีการใช้กิจกรรมร่วมกัน (functional asymmetry)
4. การพัฒนาต่าง ๆ เป็นผลมาจากวุฒิภาวะ (individuating maturation)
ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์
ฌอง เพียเจท์(Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญาพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา ตามแนวความคิดของเพียเจท์ ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาในความเห็นของเขาว่า บุคคลสามารถคิด ดัดแปลงความคิดและแสดงความคิดของตนออกมาได้ ย่อมเป็นผลมาจากขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการจัดปรับขยายโครงสร้าง (accommodation) โดยผลของการทำงานดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (schema)
แนวความคิดเกี่ยวกับขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้างและการจัดปรับขยายโครงสร้าง
Assimilation หมายถึง การที่เด็กนำเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่ๆ เข้าไปผสมผสานกลมกลืนกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งการรับรู้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคยรู้จัก
Accommodation หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี
ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ
- ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) อายุ 2 – 4 ปี
- ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก (Lowrence Kohlberg) เป็น
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์โดยโคลเบอร์กเห็นด้วยว่าพัฒนาการทางการคิดเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมเช่นเดียวกับเพียเจท์ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะมีลำ ดับขั้นเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ และมีแนวคิดว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของแต่ละบุคคล จะแตกต่างกันและมีระยะเวลาของการพัฒนาในแต่ละขั้นต่างกัน
ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventional
วัย 2 – 10 ปี
มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์
เจอโรม บรุนเนอร์ (Jerome.S.Bruner) ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก
พัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดของมนุษย์
แบ่งเป็น 3 ขั้น ดังนี้
1. Enactive Stage
2. Iconic representation Stage
3. Symbolic representation stage
ภาพบรรยากาศในการเรียน
ความรู้ที่ได้
ความรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยและพัฒนาการต่างด้านต่างๆของเด็กซึ่งพัฒนาการเเต่ละอย่างหากเด็กไม่ได้มีพัฒนาการตามช่วงอายุจะเกิดผลเสียกับเด็กอย่างมาด และทฤษฎีต่างๆของนักปรัชญาการศึกษาของเเต่ละท่านพร้อมทั้งให้ดูละคร ฟ้ามีตา เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นครูที่ดีและเข้าใจผู้ปกครอง
ประเมินตนเอง
เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนพอสมควร
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดีอธิบายในเนื้อหาที่เรียนละเอียด มอบหมายงานให้นักศึกษาเข้าใจง่าย
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนทุกคนๆตั้งใจฟังอาจารย์ และตั้งใจชมคลิป ละครเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศดี เย็นสบาย สนุกสนาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น