รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
ความแตกต่างของเด็กขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูที่ต่างกัน
ซึ่งส่งผลถึงนิสัยที่จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
การอบรมเลี้ยงดูลูกมีวิธีต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
1.
การอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย
เป็นการอบรมเลี้ยงดูลูก ซึ่งได้แก่ ความรัก ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ
ต้องใช้เหตุผลกับลูกให้ลูกรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติด้านความยุติธรรม
และไม่ใช้เพียงแต่ให้ความรักอย่างเดียว ต้องให้ความสำคัญแก่ลูก
โดยถือว่าลูกคือส่วนสำคัญต่อครอบครัว พ่อแต้องให้ในสิ่งที่ลูกต้องการจริง ๆ
หลักการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่จะทำได้คือ
1.
พ่อแม่ให้สิทธิแก่ลูกในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้เขาเป็นตัวเองให้มากที่สุด
จะต้องไม่คิดแทนลูก ฝึกให้เขาทำได้คิดตัวเอง
2.
พ่อแม่มีหน้าที่ให้สิ่งต่าง ๆ ตรงกับพัฒนาการตามความต้องการเหมาะสม
และความสามารถทางร่างกาย
3.
พ่อแม่ควรต้องเอาใจใส่ ต่อความคิดเห็นของลูก สนใจกิจกรรมต่าง ๆ ของลูก
ให้คำแนะนำ สิ่งเสริมและเฝ้าดูผลสำเร็จในงานของลูกด้วยความตั้งใจและอดทน
4.
พ่อแม่ควรมีเวลาใกล้ชิดลูก และทำตัวเป็นเพื่อนที่ดีของลูก ให้คำแนะนำมากกว่าการออกคำสั่งให้ทำ
ควรเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตยไม่ใช่เผด็จการ
เพราะจะช่วยให้เด็กได้เติบโตอย่างมีอิสระตามพัฒนาการขั้นต่างๆ
5.
พ่อแม่ควรใช้แรงเสริมเป็นตัวสร้างบุคลิกภาพของเด็กตามที่ต้องการจะให้เด็กเป็น
พ่อแม่จะต้องเป็นแบบอย่างโดยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ลูกเห็นอย่างเด่นชัด
6.
พ่อแม่ควรส่งเสริมความเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ลูก
โดยให้อิสระแก่ลูกควบคู่ไปกับการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ
ทำให้ทั้งสองสิ่งมีความสมดุลกันขึ้นในตัวของลูก
7.
พ่อแม่ควรจะใช้วิธีการลงโทษให้เหมาะสม ทฤษฏีของโคเบอร์ก กล่าวว่า เด็กอายุ
1-7 ปี การทำโทษทางกายยังใช้ได้ดี เพราะทำให้เกิดการเรียนรู้ การตีเด็ก
ควรตีเพราะสั่งสอนมิใช่เพราะโกรธ
8.
การฝึกวินัยให้ลูกเป็นสิ่งจำเป็น
ควรเริ่มทำในเมื่อลูกโตพอที่จะเข้าใจเหตุผล
การยัดเยียดให้เด็กมีระเบียบวินัยมากเกินไปในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน เอาแต่ใจ
9.
พ่อแม่ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ลูกเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
10.
พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทีจะอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
โดยเฉพาะในเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กได้ปรับตัวเข้ากับสังคม
และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ผลของการเลี้ยงลกแบบประชาธิปไตย
เด็กจะมีลักษณะ ดังนี้
- จะเป็นคนเปิดเผย เป็นตัวของตัวเอง มีเหตุผล
- มีความรับผิดชอบ
- มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี
- เรียนรู้อะไร ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถปรับตัวได้ดี และกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ
-
สามารถช่วยเหลือตนเองและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
- มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี
- ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
มีความมั่นคงทางอารมณ์
- มีความเข้าใจตนเองสูง
และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
- รู้จักใช้เหตุผล เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น
วิธีที่ 2
การอบรมเลี้ยงดูลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก
วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักทำดังนี้
1.
เคี่ยวเข็ญให้ลูกทำตามสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีเท่านั้น
2.
มักจะดุด่าว่ากล่าวเมื่อเวลาที่ลูกอธิบายหรือแสดงเหตุผลคัดค้าน
3. กำหนดรายการอาหารทุกมื้อแก่ลูก
และลูกต้องกินหมดทุกครั้ง
4. กำหนดวิธีการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิด
ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเล่น การเที่ยว ขึ้นอยู่กับพ่อแม่
ผลของการเลี้ยงลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก
เด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ลูกจะเป็นคนเจ้าอารมณ์
ปรับตัวกับสังคมภายนอกได้ยาก
- ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
- ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง
ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
- ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ชอบพึ่งพาผู้ใหญ่
วิธีที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่มักจะทำ
1. ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูก
ลูกจะเลนอะไร อย่างไร พ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่
2. เวลาพ่อแม่อารมณ์ไม่ดี มักจะระบายออกด้วยการทำโทษเด็กเสมอ
3. เวลาลูกถามมักพูดว่า “อย่ามากวนใจ ไปให้พ้น”
4. ชอบพูดขู่ลูกเสมอเวลาลูกเล่นซน
ถ้าเด็กไม่กลัวก็จะตีลูกอย่างรุนแรง
5. ปล่อยให้ลูกทำอะไรต่าง ๆ ตามใจชอบ
ไม่ค่อยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมให้
6. มักรักลูกไม่เท่ากัน
โดยปฏิบัติตนกับลูกอย่างลำเอียง
ผลของการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
เด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ลูกจะมีลักษณะก้าวร้าว
ชอบทะเลาะเบาะแว้วกับผู้อื่นบ่อย ๆ
-
มีทัศนคติไม่ดีต่อพ่อแม่ บางครั้งถึงกับเกลียดชังพ่อแม่ตัวเอง
ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
- ลูกมีอาการเซื่องซึม ไม่สามารถปรับตัวได้ง่าย
มีความตึงเครียดทางอารมณ์
วิธีที่ 4 การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป การเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักจะทำดังนี้
1. คอยชี้แนะช่วยเหลือเพื่อนตลอดเวลา
2. ไม่ยอมให้ลูกเล่นกับเพื่อน ๆ
เพราะกลัวลูกจะถูกรังแก
3. ไม่ยอมให้เด็กกินอาหารเอง
เพราะกลัวจะทำเลอะเทอะ
4. มักช่วยลูกทำการบ้านเสมอ
5. ไม่ยอมให้ลูกกินอาหารหรือขนม
จนกว่าพ่อแม่จะได้ชิมเสียก่อน
6. เมื่อลูกเจ็บป่วยเล็กน้อย พ่อแม่จะวิตกกังวลมาก
7. ไม่ยอมให้ลูกได้ช่วยตนเองเวลาทำงานต่าง ๆ
ผลของการเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป
เด็กมีลักษณะดังนี้
- เป็นเด็กที่เอาแต่ใจตนเอง
ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเชื่อมั่นในตนเอง
- คอยพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ
พึ่งตนเองไม่ได้
- ไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ยาก
- มีแนวโน้มสุขภาพจิตเสีย
และมีอาการทางประสาท
อ้างอิง http://kruaom55.blogspot.com/2012/06/blog-post_17.html
ปฏิรูปการศึกษากับ๘
คุณธรรมพื้นฐานที่ควรปลูกฝัง
ด้วยภาวะวิกฤติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
ซึ่งประเทศไทยต้องเผชิญอยู่ขณะนี้ เมื่อพิจารณาอย่างรอบด้าน หนทางที่จะผ่อนคลายคนไทยทุกคนก็ควรหันหน้าเข้าหากัน
ร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ทุกฝ่ายยอมลดเป้าหมายเพื่อพบกันครึ่งทาง
เพื่อความอยู่รอด ปลอดภัย ความเจริญของประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
จะด้วยวิธีใดก็ตามสิ่งสำคัญต้องอยู่บนรากฐานของคุณธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามควรแก่การประพฤติปฏิบัติ
การพัฒนาบุคคลโดยใช้คุณธรรมนั้นเป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาคนในชาติให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยกาย
วาจา ใจ การศึกษาก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
การแข่งขันทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ก็ขึ้นอยู่กับการศึกษา
การพัฒนาการเมืองก็ขึ้นอยู่กับการศึกษา สังคมกำลังเสื่อมโทรม
ก็ต้องหันไปพึ่งการศึกษา การพัฒนาการศึกษาจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาประเทศ
ในการนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา
โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความสมานฉันท์ สันติวิธี
วิถีประชาธิปไตยพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว
ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้
และอยู่ดีมีสุขโดย ๘ คุณธรรมพื้นฐานประกอบด้วย
๑. ขยัน คือ ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร
สู้งานมีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ
ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
๒. ประหยัด คือ
ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้
คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
รู้จักทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ
๓. ซื่อสัตย์ คือ
ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ
มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกสำเอียง หรืออคติ
ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม
รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
๔. มีวินัย คือ
ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร และประเทศ
โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับและข้อปฏิบัติ
รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม
๕. สุภาพ คือ
ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ
เรียบร้อยไม่ก้าวร้าว รุนแรง
หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทางเป็นผู้มีมารยาทดีงามวางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
๖. สะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย
ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว
มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย
ใจและสภาพแวดล้อมมีความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
๗. สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี
มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง
สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่าง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์
๘. มีน้ำใจ คือ
ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน
เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอก เห็นใจ
และเห็นคุณค่าในเพื่อมนุษย์และผู้ที่มีความเดียดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่
อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญาลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา
หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
จากนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา ๘ คุณธรรมพื้นฐานข้างต้น
สถาบันการศึกษาจึงควรเร่งรัดนำไปปลูกฝังคุณธรรมพัฒนา ให้กับเยาวชนของชาติ
เพื่อให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ก้าวสู่สังคมคุณธรรมนำความรู้
โดยขอความร่วมมือจากสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษาอื่นๆ
เพื่อให้การดำเนินการประสบความสำเร็จสามารถนำไปสู่การปฏิบัติยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จนั้นทุกฝ่ายจะต้องมีความตั้งใจ
และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน
พ่อแม่ต้องดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิด ครูต้องมีจิตสำนึกและวิญญาณของความเป็นครูเพิ่มขึ้น
ภาครัฐและเอกชน องค์การศาสนา และสื่อมวลชน ต้องตื่นตัว กระตือรือร้น
และผนึกกำลังเพื่อการพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าอย่างมั่นคงอย่างน้อยที่สุดทุกคนควรทำงานให้เต็มกำลัง
เต็มความสามารถ และเต็มเวลาด้วย ๘ คุณธรรมพื้นฐานคือ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์
มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจหากเกิดขึ้นกับครอบครัว ชุมชน หน่วยงาน
สถาบัน ตลอดจนประเทศใดแล้ว โดยเฉพาะประเทศไทยนั้นก็จะพ้นวิกฤติทั้งทางด้านการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม พัฒนาชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นสังคมคุณธรรมนำความรู้ ชีวิตของคนในชาติ
คงจะดีกว่าเดิมสังคมไทยจะสงบสุขกว่านี้ ประเทศไทยก็คงเป็นไทยอยู่ตลอดไป
มีการพัฒนาอย่างรุดหน้าไม่ด้อยกว่าประเทศใดในโลกนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างแน่นอน
อ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
(2550). ๘
คุณธรรมพื้นฐาน. (โปสเตอร์).
วิชัย ตันศิริ. (2549). อุดมการณ์ทางการศึกษา
ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพล ทิมอ่ำ. (ม.ป.ป.).
การประชุมเชิงปฏิบัติการการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :
บริษัทอักษรเจริญทัศน์.
ค้นคว้าเพิ่มเติม
กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.moe.go.th/
นโยบายรัฐบาล
http://www.onec.go.th/policy/policy_g.htm
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
http://www.obec.go.th./index.htm
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
http://www.onec.go.th
ที่มา : http://www.vcharkarn.com/
ภาพประกอบ
ภาพก่อนนำเสนองาน และ อาจารย์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
ภาพงานนำเสนอเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ภาพในห้องเรียน
ความรู้ที่ได้
ได้เรียนรู้เกี่ยวการเลี้ยงลุกหลายหลายวิธี
ผลดี ผลเสียเป็นยังไง และคุณธรรมทั้งแปดประการ