วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันที่ 27 มีนาคม2561 ครั้งที่ 11


การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
วันที่ 27 มีนาคม2561  เวลา 08.30-11.30 น



วันนี้นำเสนองานที่ไปสัมภาษณ์ครูปฐมวัยที่โรงเรียนวัดใหญ่จอมปราสาท  จังหวัดสมุทรสาคร ตามหัวข้อที่ได้ไป รายละเอียดมีดังนี้

หมายเหตุ  ข้อ 1 นำมาจากเว็บ


บทบาทสำคัญ ของครูปฐมวัย

              ขณะนี้ครูปฐมวัยพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมาเป็นลำดับ  การพัฒนาจำเป็นอย่างมาก  เพราะความรู้และนวัตกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ครูปฐมวัยมีอิทธิพลต่อเด็กเป็นอย่างมากต่อจากพ่อแม่ซึ่งเป็นครูคนแรก  มีวิจัยที่ยืนยันว่า  สิ่งที่พ่อแม่ทำเพื่อช่วยการเรียนรู้ของเด็ก   มีความสำคัญต่อความสำเร็จทางวิชาการยิ่งกว่าฐานะความมั่งคั่งของครอบครัว ซึ่งแปลว่า การที่พ่อแม่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้สำคัญมากกว่าพ่อแม่ที่ทิ้งลูกให้คนอื่นเลี้ยงเพื่อไปหาเงินทองมาซื้อวัตถุต่าง ๆ  บำรุงความสุขสบายให้กับลูก
               การที่จะให้เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ   เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  ความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ตามจุดประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2545 – 2559  นั้น  ครูปฐมวัยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานให้เด็กเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  คอมินิอุส  (Comenius พ.ศ.2135 – 2213  จากเรื่อง  The  Great  Didactic)    กล่าวว่าถ้าเราประสงค์จะให้การศึกษาด้านคุณธรรมแก่คน  เราจะต้องฝึกฝนเขาขึ้นมาแต่เยาว์วัย  ถ้าผู้ใดประสงค์จะก้าวล่วงไปสู่ภูมิปัญญาเราจะต้องเตรียมแผ่วถางทางให้แก่ผู้นั้น  ในขณะที่ความมานะของเขายังลุกโชนอยู่  จิตใจยังหล่อหลอมได้ง่าย  และความจำยังแม่นยำอยู่


บทบาทครูปฐมวัย

                เด็กปฐมวัยมีความสำคัญและมีความแตกต่างกับเด็กในระดับอื่นทั้งด้านพุทธพิสัย    เจตคติพิสัยและทักษะนิสัย  การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนาเด็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ครูปฐมวัยจึงมีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กดังนี้
1.      เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย
 ครูต้องจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่  การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก   การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย  การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน
2.      เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
 ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้ชื่นชมสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม  ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ  เล่นเป็นกลุ่ม  เล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน   ร้องเพลง  เล่นเครื่องดนตรีง่าย  ๆ  มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเสียงดนตรี   และมีคุณธรรมจริยธรรม
3.      เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
  ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางสังคม  การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตน  การเล่น  การทำงานร่วมกับผู้อื่น  การแก้ปัญหาในการเล่น  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  การเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น   การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
4.      เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา 
ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กรู้จักการคิด  การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบจำนวนมิติสัมพันธ์  เวลา  และการให้เด็กรู้จักใช้ภาษาแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด  การพูดกับผู้อื่น  การอธิบายเรื่องราว  การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก  อ่านภาพหรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน/เรื่องราวที่สนใจ
5.      เป็นผู้สร้างเสริมสมาธิ
  ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น  กิจกรรมสร้างสรรค์   การร้อยลูกปัด   การวาดภาพสีน้ำ  สีเทียน  กิจกรรมเล่นอิสระตามมุมต่าง ๆ
                ถือได้ว่าบทบาทของครูปฐมวัยมีผลหรือเรียกได้ว่ามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กใน     ทุกด้าน  เป็นผู้วางรากฐานที่สำคัญต่อการเรียนรู้ที่เห็นได้ง่าย  อย่างเช่น  การมีสมาธิ  ถ้าครูปฐมวัยรู้จักการให้เด็กมีสมาธิด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น  การเดินบนคาน  การเข้าไปในมุมหนังสือ   การทำงานประดิษฐ์   การเล่านิทาน   ฯลฯ  เด็กได้รับการฝึกดังกล่าว  เด็กสามารถที่จะมีสมาธิ   โดยรู้จักปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อโตขึ้น  เช่น  เด็กรู้จักการฟังเนื้อหา  เรื่องราวที่ครูพูดและจับใจความได้  เข้าห้องประชุมแล้วรู้จักเงียบ   ไม่คุยตลอดส่งเสียงดังขณะประชุม   อ่านหนังสือได้เวลานานและเข้าใจพฤติกรรมดังกล่าวหากไม่ได้รับการฝึกในช่วงปฐมวัยจะยากที่จะฝึกในช่วงเป็นวัยผู้ใหญ่   การมีสมาธิที่ยกตัวอย่างเป็นเพียงเรื่องที่บางคนเห็นว่าไม่ใช่สิ่งสำคัญ    โดยความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญและเกี่ยวพันต่อเนื่องกับการเรียนรู้ของเด็ก  การพัฒนาบุคลิกภาพ  การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ  ฉะนั้นครูปฐมวัยเป็นผู้ที่วางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็กซึ่งเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องทำและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  โดยไม่หยุดยั้งเพราะเด็กเขาจะเติบโตและพัฒนาทุกวินาที

อ้างอิง 
http://krudee1234.blogspot.com/2013/12/blog-post.html


หลักการในการอบรมเลี้ยงดูการดูแลสุขภาพอนามัยโภชนาการเด็กปฐมวัย
            ตามหลักเด็กควรได้รับสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ และอาหารควรมีความหลากหลายเหมาะสมกับวัยและมีอาหารเสริมให้กับนักเรียนทุกคนเพื่อเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆของนักเรียนให้มีการเจริญเติบโตตามวัยเมื่อนักเรียนได้รับสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการแล้วทางโรงเรียนก็ได้มีการจัดระดับของการเจริญเติบโตของนักเรียนทุกเดือนเพื่อดูการพัฒนาการเจริญเติบโตโดยวัดจากส่วนสูง  น้ำหนัก   สำหรับนักเรียนที่มีการเจริญเติบโตช้าหรือน้ำหนักและส่วนสูงไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ โรงเรียนได้มีการให้นักเรียนที่มีน้ำหนัก  ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ ให้ได้รับอาหารเสริมมากกว่าเด็กปกติ สำหรับนักเรียนที่เกินเกณฑ์โรงเรียนได้จัดกิจกรรมออกกำลังกายลดพุงให้กับนักเรียนทั้งในระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา


เทคนิควิธีการหรือรูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน
1 จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้มีความเหมาะสมและจัดให้เหมาะสมต่อการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย
2   มีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องทุกวันโดยผ่านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
3 ใช้คำพูดที่ง่ายต่อการเข้าใจของเด็กปฐมวัย
4   ให้ความช่วยเหลือเด็กเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้นโดยครูมีบทบาทในการให้คำชี้แนะ  คำแนะนำ เมื่อเด็กประสบปัญหา
ให้แรงเสริมกับเด็กทันทีเมื่อเด็กทำได้ถูกต้อง  เช่น  การยิ้ม การชมเชย  การปรบมือ  การสัมผัส


ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ ให้กับเด็กปฐมวัยมีการส่งเสริมหรือปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้กับเด็ก

      ครุก็จะมีการสอดแทรกในด้าน  ความขยัน การประหยัด  ความซื่อสัตย์  ความมีวินัย ความสุภาพ ความสะอาด ความมีน้ำใจและความสามัคคี ซึ่งจะเน้นเป็นข้อๆดังนี้
1 ความขยัน
     ครูคอยให้ความรู้ว่านักเรียนต้องมาโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอและต้องขยันทำการบ้านที่ครูให้นักเรียนจะได้เป็นคนเก่ง
การประหยัด
     บอกให้นักเรียนรู้จักใช้สมุด  ดินสอ และยางลบ ที่ครูแจกไปห้ามทำหายให้รักษาไว้ดีๆให้ตรวจสอบเก็บอุปกรณ์ที่เรียนให้เรียบร้อยเสมอ
3 ความซื่อสัตย์
       นักเรียนเจอสิ่งที่ไม่ใช่ของตนให้นำมาส่งครูเพื่อหาเจ้าของและนักเรียนห้ามลักขโมยของเพื่อนเดียวนักเรียนจะโดนตำรวจจับและจะไม่เป็นเด็กดี
4 ความมีวินัย
       สอดแทรกในการทำกิจกรรมที่ต้องรู้จักกฎระเบียบที่ตั้งไว้
5 
ความสุภาพ
        สอดแทรกว่านักเรียนไม่ควรพูดคำหยาบกับเพื่อนๆหรือคนอื่นๆเพราะจะทำให้เป็นเด็กไม่น่ารัก
6  ความสะอาด
        ครูจะจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เด็กซึมซับรับรู้และสอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กจัดห้องเรียนที่สะอาดมีที่ทิ้งขยะที่ชัดเจนให้เด็กล้างหน้าและเช็ดมือหลังจากทำกิจกรรมเหล่านี้ก็จะช่วยฝึกคุณธรรมด้านความสะอาด
ความมีน้ำใจ
        ครูก็จะสอนอย่างเช่นในการทำกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้จักการแบ่งปันของเล่นและการช่วยกันเก็บของเล่นเข้าที่
ความสามัคคี
        ในการทำกิจกรรมในแต่ละวันก็จะมีการทำงานกันเป็นกลุ่มให้เด็กมีความร่วมมือกันในการทำชิ้นงานของกลุ่มตัวเอง  ยกตัวอย่างเช่น  หากกลุ่มใดไม่ช่วยกันงานที่ทำก็จะไม่เสร็จ  เป็นต้น

ปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยหรือส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือถ้ามีปัญหามีแนวทางไขปัญหา

ปัญหาที่พบบ่อย
      นักเรียนไม่ทำการบ้านด้วยตนเองสาเหตุจากการขี้เกียจสอนของผู้ปกครอง
การแก้ปัญหา
- ครูประจำชั้นจะใช้วิธีให้นักเรียนทำหลังจากตื่นนอนซึ่งนักเรียนที่ไม่ทำการบ้านก็จะไม่ได้เล่นเกมการศึกษาพร้อมกับเพื่อนๆแต่ในบางครั้งก็ต้องให้ทำก่อนนอนกลางวันในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ในบางครั้งก็ต้องดูตามความเหมาะสมด้วยว่าช่วงเวลาไหนสะดวกมากกว่ากัน
-บอกผู้ปกครองให้เข้าใจถึงผลเสียกับการที่ทำการบ้านให้กับลูก
2   นักเรียนเขียนตัวหนังสือกลับหัว
การแก้ปัญหา
-          ครูประจำชั้นจะใช้วิธีฝึกฝนบ่อยๆจนเด็กจำพยัญชนะและฝึกหลักการเขียนที่ถูกวิธีให้กับเด็ก
  นักเรียนมีพัฒนาการช้า
การแก้ปัญหา
-          ฝึกฝนด้วยการให้ช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุดเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระของเพื่อนมากเกินไป
-          ฝึกฝนพัฒนาการด้านสติปัญญาเท่ากับที่ตัวเด็กจะรับได้ เพราะสติปัญญาของคนเราไม่เท่ากันครูจะใช้เวลาที่เหลือบางส่วนส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาให้กับเด็กที่มีพัฒนาการช้า


ภาพบรรยากาศ

บรรยายสิ่งที่ต้องนำเสนอในวันนี้และวันหน้า 




ภาพนำเสนองาน ที่ไปสัมภาษณ์ 



บรรยากาศในห้องเรียน 



ความรู้ที่ได้รับ
  
ปัญหาแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาการในแต่ละด้าน  บทบาทของครูปฐมวัยทำอะไรบ้างในแต่วัน  สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ให้กับเด็ก

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์อธิบายให้เข้าใจและอธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่บุคคลให้สัมภาษณ์ไม่ได้กล่าวถึงหรือกล่าวถึงแต่ไม่ครอบคลุมได้ดี


ประเมินตนเอง
  ตัวเองเข้าใจในส่วนที่เพื่อนนำเสนอและที่ตัวเองนำเสนอรวมทั้งส่วนที่เสริมเข้ามาได้

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
    เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นนำเสนองานได้ดีและฟังอาจารย์อธิบายเพิ่มได้ดีแต่พักหลังๆไม่ค่อยเท่าไหร่

บรรยากาศในห้องเรียน
    สภาพแวดล้อมดี อากาศดี เสียงดังไปบางช่วงเวลา
  





      











      






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น