วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันที่ 17 เมษายน 2561 ครั้งที่ 14



การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
วันที่ 17 เมษายน 2561  เวลา 08.00-11.30
       วันนี้เรียนเนื้อหาไปก่อนช่วงหนึ่งและหลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกงานและอธิบายในส่วนของงานนั้นพร้อมทั้งนำเสนอคุณธรรม8ประการสำหรับเด็กปฐมวัยและช่วงสุดท้ายบอกแนวข้อสอบ
เนื้อหาที่เรียน
                                      อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก

       อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเริ่มมีชีวิต ทารกจะได้รับอาหารผ่านทางสายรก และใช้ในการเจริญเติบโตตลอดมาอาหารที่เรากินเข้าไปจะส่งผลต่อร่างกายของเรา เช่น เรากินอาหารที่มีคุณค่าประกอบไปด้วย เนื้อสัตว์ แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะพอควร เราก็จะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างกระฉับกระเฉง    มีพลังที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้

หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่

อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2
ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น
อาหารหมู่ที่ 3
ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย
อาหารหมู่ที่ 4
ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่
อาหารหมู่ที่ 5
ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น
            การจัดอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการให้แก่เด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งเด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

อาหารที่มีโทษเป็นพิษภัยแก่เด็ก

ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปสำหรับริโภคมีมากมายในตลาด ซึ่งผู้ผลิตคำนึง ถึงความสะดวกของผู้บริโภคเป็นหลัก สามารถเก็บไว้ได้นาน ในทุกอุณหภูมิ มีรสชาติถูกปากผู้บริโภค ผู้ผลิตโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อว่าอาหารนั้นๆ ดี มีคุณค่า อร่อย ทันสมัย หากผู้บริโภคหลงเชื่อโดยมิได้ไตร่ตรองหรือขาดความรู้ด้านโภชนาการ ก็จะรับประทานอาหารนั้นจนลืมคิดไปว่าการที่จะทำให้อาหารนั้นๆ คง สภาพความอร่อย ความหอม ความมัน ความหวาน คงสีสันไว้ได้ตลอด นั้นต้องอาศัยสารเคมีช่วยในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น และสี ให้คงเดิม วัตถุเหล่านี้เองที่เป็นอันตรายได้
            เด็กปฐมวัยนับเป็นตลาดอันสำคัญยิ่งของผู้ผลิตเหล่านี้ เนื่องจากเด็กยังไม่ มีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจเองได้ จึงมักเชื่อตามโฆษณา และความ นิยมของเพื่อนๆ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้อง ตระหนักถึงพิษภัยร้ายกาจของอาหารเหล่านี้ โดยต้องร่วมมือกับ พ่อแม่ ผู้ปกครองช่วยกันให้ความรู้แก่เด็ก และไม่จัดอาหารเหล่านี้ให้แก่เด็ก เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่จะตามมา
            สิ่งที่ผู้ผลิตตั้งใจใส่ในอาหารสำเร็จรูป เราเรียกว่า “วัตถุเจือปนอาหาร” เช่น กรดน้ำส้ม สารให้ความหวาน   ผงชูรส เป็นต้น
            วัตถุหรือสารเคมีที่พบปะปนโดยที่ผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจใส่ในอาหาร เรียกว่า “วัตถุปนเปื้อน” เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น

ปัญหาการขาดสารอาหารและการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในเด็ก

การขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งจากความบกพร่องของการบริโภค อาหาร จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายกลายเป็นโรคขาดสารอาหาร ยิ่งเมื่อเกิดในเด็กวัยที่กำลังเจริญเติบโต คือ อายุระหว่างแรกเกิดจนถึง 5 ปี ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของอนาคตแล้ว ก็ยิ่งเป็นปัญหาที่เลวร้ายมากที่สุด การ ขาดสารอาหารในวัยเด็กจะทำให้เกิดความชะงักของการเจริญเติบโตเด็กจะ แคระแกร็น ส่งผลกระทบต่อระบบสมอง เนื่องจากมีการค้นพบว่า สมองของ คนเราจะเจริญอย่างรวดเร็วถึง90% ในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต ต่อจากนั้นจะ เจริญต่อไปจนอายุ 5 ปีหากช่วงอายุดังกล่าวเด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน นอกจากร่างกายเจริญเติบโตไม่ดีแล้ว สมองก็จะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ด้วย

หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก

หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นผู้เลียงดูเด็กควรคำนึงถึงการจัดอาหารให้เหมาะสมกับสภาพและวัยของแต่ละบุคคลโดยคำนึงถึงความต้องการสารอาหาร ประโยชน์ที่จะได้รับจากสารอาหาร ปริมาณของอาหารที่ควรได้รับ และพิษภัยของอาหาร เด็กที่ได้รับอาหารที่ดีมีคุณภาพ ได้รับอาหารเพียงพอ มีสารอาหารคบถ้วนตามความต้องการ จะมีสุขภาพอนามัยทีสมบูรณ์ มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เป็นปกติ แต่หากเด็กคนใดไม่ได้รับอาหารที่ดี ไม่เพียงพอ อาหารไม่มีคุณภาพ จะเกิดภาวะขาดสารอาหาร สุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์ รูปร่างแคระแกร็น เติบโตช้า พัฒนาการไม่สมวัย สภาพร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติไปด้วยในช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและการมีพัฒนาการใน ทุก ๆ ด้านของชีวิตเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว หากเด็กได้รับการเลี้ยงดู ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและถูกต้องจะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ในที่นี้ควรทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า การเจริญเติบโตและพัฒนาการว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร การเจริญเติบโต หมายถึง การะบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งด้านการเพิ่มขนาดของร่างกายทุกส่วนหรือเฉพาะส่วน สามารถวัดได้ เช่นน้ำหนัก ความสูง ขนาด ความหนาแน่น เป็นต้น


อาหารสำหรับวัยทารก (แรกเกิด- 1 ปี)

ในระยะแรกเกิดจนถึง 4 เดือน ให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียว การเริ่มฝึกให้อาหารตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปแบ่งได้เป็น 6 ระยะ ดังนี้
- อายุ 4 เดือน ระยะเริ่มแรกให้อาหารเสริมนอกจากกินนมแม่แล้ว ให้ข้าวบดผสมกับน้ำแกงจืดเล็กน้อยเพื่อให้กลืนง่าย ประมาณ 1 ช้อนก่อน ผสมไข่แดงต้มสุกประมาณ 1 ใน 4 ฟอง ปนน้ำแกงจืดที่ใส่ผักต่าง ๆ ให้สลับกับกล้วยน้ำว้าสุกงอม ใช้ปลายช้อนขูดทีละน้อยแล้วบดให้ละเอียด ให้ในประมาณที่น้อย ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงเพิ่ม จะช่วยให้ทารกได้รับโปรตีนและพลังงานเพียงพอ ไม่เกิดการขาดสารอาหาร ควรให้กินในเวลาเดียวกันเพื่อหัดให้เกดความเคยชิน
- อายุ 5 เดือน เด็กยังกินนมแม่ ควรเพิ่มโปรตีนจากปลาโดยใช้เนื้อปลาสุกบดละเอียดผสมน้ำแกงจืดจากผักเพื่อหัดให้ทารกรู้จักกินปลาที่เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดี มีลักษณะอ่อนนุ่ม ย่อยง่าย ควรระมัดระวังก้างปลา ควรใส่ผักในข้าวสลับกับฟักทอง มะเขือเทศ หรือแครอท สลับกับการให้ไข่แดงต้มสุกบดให้ละเอียด 1 ฟอง เพื่อให้ได้วิตามินและป้องกันการขาดวิตามินเอ
   - อายุ 6 เดือน กินนมแม่ ให้อาหารแทนนท 1 มื้อ โดยเริ่มกินข้าวบดผสมเนื้อปลาหรือไข่ต้ม สุกบด ใส่น้ำแกงจืด ผสมผัก ตับบด และกินผลไม้สุกบดละเอียดตามฤดูกาลเพื่อให้ได้วิตามินเพิ่มขึ้น ควรฝึกพัฒนาการกินอาหารให้เป็นเวลาเพื่อปรับเปลี่ยนอาหารเป็นมื้อได้ง่าย
- อายุ 7 เดือน ยังกินนมแม่ ในระยะนี้เด็กจะเริ่มมีฟันขึ้น กระเพาะอาหารสามารถสร้างน้ำย่อยได้แล้ว ทารกจะเกิดความรู้สึกอยากอาหารและกินอาหารได้มากขึ้น นอกจากให้ข้าวบดผสมเนื้อสัตว์ต่าง ๆ บดแล้ว เริ่มเพิ่มตับบดโดยใส่ผสมกับผักสุกบดกับน้ำแกงจืด สลับกับไข่ 1 ฟอง และผลไม้สุกบด ควรให้อาหารชนิดใหม่ ๆ ที่มีลักษณะข้นขึ้นและหยาบมากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ เริ่มให้ไข่แดงและไข่ขาว เริ่มให้อาหารว่างเป็นผลไม้สุกเพิ่มได้วันละ 1 มื้อ
- อายุ 8-10 เดือน ให้กินนมแม่และให้อาหารแทนนมแม่ได้ 2 มื้อ โดยให้อาหารสลับกันในปริมาณที่มากขึ้น
- อายุ 10-12 เดือน ทารกจะมีพัฒนาการในการใช้มือมากขึ้น ควรให้ฝึกหยิบจับอาหารใส่ปากเอง โดยแม่หรือผู้ดูแลเด็กคอยช่วยเหลือ โดยหาอาหารที่ไม่แข็ง ไม่เหนียวหรือมีขนาดใหญ่เกินไป ให้ถือกินเองบ้าง ประเภทผัก ผลไม้ เช่น ฟักทอง แครอท มันต้ม แตงกวา มะละกอ มะม่วงสุก หั่นเป็นชิ้นยาว ๆ เพิ่มมื้ออาหารเป็น 3 มื้อ เมื่ออายุครบ 12 เดือน ก็จะสามารถกินอาหารได้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น

ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหารของเด็กในวัยทารก

1)     ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนจับต้องอาหาร
2) ใช้ภาชนะที่สะอาด โดยจัดเก็บอย่างมิดชิดไม่ให้แมลงวันหรือแมลงอื่น ๆ ไต่ตอม
3) อาหารที่ปรุงทุกชนิดต้องล้างให้สะอาด ภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มและประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม มีด ต้องล้างให้สะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง แยกภาชนะของเด็กและผู้ใหญ่รวมไปถึงมือของผู้ปรุงอาหารก็ต้องสะอาดด้วย
4) อาหารและน้ำจะต้องสุกทั่วถึงและทิ้งระยะเวลาให้อุ่นลง ไม่ร้อนจัดเวลานำมาป้อนเด็ก หากเด็กกินเหลือไม่ควรเก็บไว้
5) อาหารของเด็กจะต้องมีรสธรรมชาติ ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติเกินธรรมชาติ เช่น ไม่เค็ม หวาน เปรี้ยวเกินไป หรือไม่ควรใส่ผงชูรส

6) ต้มหรือตุ่นข้าวจนสุกและ แล้วนำมาบดให้ละเอียด โดยใช้กระชอนหรือใส่ในผ้าขาวบางห่อแล้วบีบรูดออกหรือบดด้วยช้อนก็ได้ หรือตำข้าวสารให้ละเอียดให้เหมาะสมกับอายุของทารก แล้วจึงค่อยนำไปต้มให้สุก จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก
7) สับหมู หั่นผักให้ละเอียดก่อนนำไปหุงต้ม ส่วนตับให้ต้มให้สุกแล้วต่อยยีให้ละเอียด
8) ให้กินเนื้อปลาสุกโดยการย่าง หรือนึ่ง หรือต้ม ไม่ควรให้กินหนังปลา ระมัดระวังก้างปลาโดยเก็บออกให้หมด
9) ให้กินน้ำแกงจืด (น้ำต้มผักกับเนื้อสัตว์สับละเอียด) ผสมกับข้าว โดยใช้แกงจืดหรือน้ำผัดผัก แต่ต้องไม่เค็ม
10) เด็กที่มีอายุ 7 เดือนแล้วกินถั่วเมล็ดแห้งได้ อาจน้ำไปหุงต้มปนไปกับข้าว หรือจะนำไปทำเป็นขนมผสมกับน้ำตาลและนม

ข้อควรคำนึงในการให้อาหารแก่เด็กทารก

1.      อย่าให้อาหารอื่นใดนอกจากนมแม่ในระยะ 4 เดือนแรก เพราะจำทำให้เด็กทารกรับประโยชน์จากน้ำนมแม่ไม่เต็มที่ และอาจทำให้น้ำนมแม่ลดลงเนื่องจากการดูดกระตุ้นจากลูกน้อยลง
2. เพื่อเป็นการหัดให้เด็กคุ้นเคย ควรเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ตามที่แนะนำไว้
3. เริ่มให้อาหารทีละอย่าง ทีละน้อย ๆ เช่น 1 ช้อนชา แล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนตามแต่ชนิดของอาหารโดยให้กินก่อนกินนมมื้อใดมื้อหนึ่งเป็นจำ แล้วให้นมตามจนอิ่ม ใน 6 เดือนแรก ควรให้อาหารเพียงวันละ 1 มื้อ โดยเพิ่มทีละน้อย ๆ จนมากพอ และกลายเป็นอาหารหลักได้ 1 มื้อ เมื่ออายุ 6 เดือน
4. อาหารทุกชนิดควรใช้ช้อนเล็ก ๆ ป้อน เพราะต้องการหัดให้เด็กรู้จักกินอาหารจากช้อน
5. ควรทิ้งระยะในการที่จะเริ่มอาหารใหม่แต่ละชนิด เพื่อดูการยอมรับของเด็กทารก และเพื่อสังเกตดูว่าทารกแพ้อาหารหรือไม่ เช่น มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ถ้าเด็กไม่กินเพราะไม่คุ้นเคยหรือไม่ชอบควรงดไว้ก่อนชั่วคราว แล้วลองให้ใหม่อีกใน 3-4 วันต่อมา จนเด็กทารกยอมกิน
6. ควรจัดให้กินอาหารเหลวก่อน เช่น น้ำส้มคั้น น้ำต้มผัก แล้วจึงหัดให้กินอาหารข้นขึ้น เช่น กล้วยน้ำว้าสุกงอม บอผสมกับน้ำต้มสุกเล็กน้อย ข้าวบดผสมกับน้ำแกงจืด ไข่แดงต้ม ผักบด ปลาบด เป็นต้น อาหารจะค่อย ๆ ข้นขึ้นและหยาบขึ้นตามอายุของลูก
7. ให้กินน้ำต้มสุกหลังอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้สมบูรณ์ และช่วยในการขับถ่ายของเสีย รวมทั้งทำความสะอาดช่องปากของเด็กทารก
8. เมื่อเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้น ให้กินอาหารสับละเอียดไม่ต้องบด เพื่อฝึกให้เด็กหัดเคี้ยว
9. ให้อาหารที่สดใหม่และทำสุกใหม่ ๆ
10. อย่าบังคับเด็กกินเมื่อเด็กไม่ต้องการ ให้พยายามลองใหม่วันต่อไป
11. อย่าให้เด็กกินอาหารเค็มจัดและหวานจัด

อาหารสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี

เป็นวัยที่ต้องการสารอาหารและพลังงานมากกว่าผู้ใหญ่ เพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ สมอง กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ สร้างเสริมภูมิต้านทานโรค แต่เนื่องจากวัยนี้เริ่มจะสนใจสิ่งแวดล้อมและการเล่นมากกว่า ทำให้ไม่ค่อยสนใจอาหาร พร้อมกับเริ่มชอบหรือไม่ชอบอาหารบางอย่าง มีการเลือกกันเฉพาะสิ่งที่ชอบ จึงควรสร้างนิสัยการกินที่ดีในระยะ นี้ เพราะหากตามใจเด็กให้เลือกกินตามแต่ชอบ อาจทำให้เด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม หรือได้รับไม่ครบทั้ง 5 หมู่ ทำให้การเจริญเติบโตชะวักงัน พัฒนาการทางสมองและสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร อาจเจ็บป่วยบ่อย ควรให้อาหารกลัก 3 มื้อ และอาหารเสริมเป็นนมและของว่างที่มีประโยชน์

ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหาร

1)     ให้กินอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสะอาดและปลอดภัย
2) ควรจัดอาหารให้มีปริมาณไขมัน โดยเลือกใช้น้ำมันที่มีคุณภาพดี เช่น น้ำมันจากพืช เช่น ข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย ปลาทะเล หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ให้เด็กได้รับไขมันในสัดส่วน 30% ของอาหารที่ให้พลังงานในแต่ละวัน และให้ได้รับน้ำนมวัวละ  2-4 แก้ว กินไข่ได้วันละ 1 ฟอง
3) ควบคุมความหวานหรือใส่น้ำตาลแต่พอควร ไม่ควรตามใจเด็กให้กินอาหารหวานมากจนกลายเป็นนิสัยทำให้เกิดโทษ เช่น ฟันผุ หากเด็กได้รับน้ำตาลมากเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจสะสมทำให้มีการสร้างไนโตรกลีเซอไรด์เพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือเกิดเป็นโรคเบาหวานได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกอาหารประเภทธัญญาพืชและแป้งจากธรรมชาติให้มากที่สุด เมื่อร่างกายได้รับแล้วสามารถย่อยเป็นน้ำตาลนำมาใช้เป็นพลังงานได้

อาหารสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี

เด็กในวัยนี้จะมีระยะการเจริญเติบโตที่ช้ามากกว่าใน 2 ระยะแรก ดังนั้นจึงไม่ต้องการอาหารในการพัฒนาการมากนักจะให้ความสนใจอาหารน้อยลงแต่มีความสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ความอยากอาหารน้อยลง จะมีความต้องการอาหารแตกต่างกันในแต่ละมื้อ เริ่มกำหนดความชอบอาหารของ ตัวเอง หากพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่เข้าใจ จะทำให้เกิดปัญหาการกินอาหารของเด็กวัยนี้ได้ อาหารสำหรับเด็กวัยนี้ต้องมีความหลากหลาย โดยผู้เลี้ยงดูเด็กต้องรู้จักวิธีส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความต้องการอาหารของเด็ก เพื่อปลูกฝังนิสัยการกินอาหารทีดีให้แก่เด็ก รวมทั้งต้องจัดอาหารให้เหมาะกับพัฒนาการตามวัยและความต้องการทางร่างกายของเด็ก ชีวิตช่วงนี้ของเด็กจะอยู่กับผู้เลี้ยงดูเด็ก ซึ่งจะดูแลอาหารหลัก อาหารกลางวัน 1 มื้อ อาหารเสริมหรือ อาหารว่าง 2 มื้อ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึง คือ รสชาติต้องอร่อยถูกปากเด็ก ทั้งต้องมีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย

ประโยชน์และคุณค่าของน้ำนม

น้ำนมถือเป็นอาหารหลักที่มีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งในช่วง แรก คือ แรกเกิด-3 ขวบ และช่วงอายุ  3-5 ขวบในช่วงแรกเด็กทารก แรกเกิดต้องกินน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวจนอายุได้ 4เดือนจึงเริ่มให้ อาหารเสริม และเริ่มหย่านมเมื่ออายุครบ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง แต่เด็กยัง ต้องการนมอยู่ เพื่อนำสารอาหารโปรตีน และแร่ธาตุ วิตามินที่มีอยู่ใน น้ำนมไปเพื่อสร้างเสริมซ่อมแซมร่างกาย ดังนั้นหลังจากหย่านมแม่ ไปแล้ว เด็กจึงควรได้รับน้ำนมทดแทนในรูปของน้ำนมสัตว์ต่างๆเพื่อ ให้พัฒนาการของเด็กไม่สะดุดขาดตอนลง 

                                     ภูมิต้านทานโรค
ในน้ำนมแม่จะมีระบบภูมิต้านทานโรคให้แก่ทารกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดยผ่านจากรกเมื่อคลอดออกมาแล้วจะผ่านทางน้ำนมแม่ จนร่างกายของเด็กสามารถสร้างขึ้นเองได้ในภายหลัง จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าน้ำนมแม่มีคุณประโยชน์มาก สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ในน้ำนมแม่จะมีสารอาหารครบถ้วนที่จะไปเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและร่างกาย
2) น้ำนมแม่ทีความสะอาดและปลอดภัยจากเชื้อโรค
3) ป้องกันโคต่าง ๆ ที่จะเกิดในเด็กทารกได้
4) มีความสะดวก แม่สามารถให้นมแก่ลูกได้ทุกเวลาไม่ต้องมีการเตรียมการ มีอุณหภูมิพอดี ไม่ต้องอุ่นให้ร้อน หรือทำให้เย็น
5) น้ำนมแม่สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันให้แก่ลูกจนลูกสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเองได้
6) ประหยัด เพราะร่างกายของแม่สามารถสร้างน้ำนมเองได้ตลอดเวลา
7) ให้ทารกกินได้นานเท่าที่ทารกต้องการ
8) น้ำนมแม่มีปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำให้ทารกเกิดโรคอ้วน
9) น้ำนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน เหมาะสมทำให้ทารกถ่ายสะดวกท้องไม่ผูก
10) เมื่อให้นมแก่ลูก แม่และลูกจะผูกพันอย่างใกล้ชิด เกิดความสุขและอบอุ่นทางจิตใจ
                                  น้ำนมจากสัตว์
เป็นของเหลวที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสร้างขึ้นเพื่อใช้เลี้ยงลูก จะมีคุณ ค่าทางโภชนาการสูง น้ำนมจากสัตว์ที่เรานิยมกินกันเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำนมวัว เนื่องจากมีส่วนประกอบที่ใกล้เคียงกับน้ำนมของคน มากที่สุด รองลงมาก็คือ นมแพะ นมแกะ นมกระบือ ซึ่งนิยมบริโภค เฉพาะในท้องถิ่น แต่ไม่เป็นที่นิยมเลี้ยงทารกเพราะจะมีไขมันและ โปรตีนสูงกว่าน้ำนมคนและน้ำนมวัวมาก
            น้ำนมจัดเป็นอาหารที่ธรรมชาติสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์มีคุณค่าทาง โภชนาการสูง มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวหรือเหลืองนวล มีรส หวานเล็กน้อยมีส่วนประกอบจากน้ำ โปรตีน ไขมัน น้ำตาลแล็กโทส และสารประกอบอื่น ๆ แยกได้ดังนี้ - น้ำ เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่
หลักการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยกำลังอยู่ในวัยที่ต้องการอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ของร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตเต็มที่ หมายความว่าการที่เด็กจะมี น้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น อย่างได้สัดส่วนกับอายุจะสามารถพัฒนา ร่างกายและเซลล์ในสมองของเด็กได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีสมรรถ- ภาพ ในการรับรู้และการเรียนรู้ได้อย่างดี ต่างจากเด็กที่ขาดอาหาร ได้อาหารไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ผู้เลี้ยงดูเด็กจึง ควรเน้นในเรื่องของการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสม สำหรับเด็ก ปฐมวัยอย่างแท้จริง และจัดให้บริการอาหารแก่เด็กปฐมวัยได้ถูก ต้องตามหลักโภชนาการและมีอนามัย เพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างมี คุณภาพในลำดับต่อไป หลักในการจัดเตรียมอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรคำนึง หลักการจัดเตรียมอาหารที่จะสามารถให้ประโยชน์แก่ เด็กได้อย่างเต็มที่ โดยใช้งบประมาณที่เหมาะสมการจัดการที่สอด คล้องกับสภาพพื้นที่โดยยึดหลักดังนี้
1. การจัดอาหารที่มีประโยชน์  2. เป็นอาหารที่มีคุณค่า  3. การจัดอาหารที่ประหยัด
การจัดรายการอาหารและการจัดอาหารสำหรับเด็ก
การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยจะเป็นการจัดอาหารสำหรับเด็กเมื่อมาอยู่ในสถาน คือ
อาหารหลัก 1 มื้อ และอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มในตอนเช้าและบ่ายอีก 2 มื้อ รวมเป็น 3 มื้อ อาจแยกได้ ดังนี้
1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวก ของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการและเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว หมายถึง อาหารที่ปรุงสำเร็จใส่มาในจานเดียวกินได้โดยไม่ต้องมีอาหารอื่น เป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน กำหนดคุณค่าทางอาหารได้ชัดเจน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวทั้งน้ำและแห้ง ผัดมักกะโรนี ผัดไทย ซึ่งต้องมีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ผัก เด็กจะกินได้สะดวก ข้อดีของอาหารหลักประเภทอาหารจานเดียว คือ ไม่ต้องเสียเวลาประกอบอาหารมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วใช้เครื่องมือเครื่องใช้ร้อย สามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบได้ง่าย แต่ผู้ปรุงต้องมีความรู้ทางโภชนาการที่จะปรับปรุงอาหารให้ดูน่ากินโดยยังคงคุณค่า
2. อาหารว่าง
เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วจะอิ่ม ใช้สำหรับเสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเข้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลย และก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อเสริมหากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างเกินไปก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่าย หาได้ในท้องถิ่น เช่นชาละเปา ข้าวต้มมัด ฟักทอง นึ่ง ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู แซนวิชง่าย ๆ หลักการจัดอาหารว่างเสริมให้แก่เด็ก จะต้องจัดอาหารที่ให้แคลอรีและโปรตีน นอกจากนี้แล้วยังต้องให้วิตามินหรือสารอาหารที่เพิ่มเติมที่ยังขาดอยู่ให้แก่เด็กในตะวัน ทำได้ง่าย หาได้ในท้องถิ่น เด็กสามารถกินได้สะดวก ต้องไม่จัดอาหารด้อยคุณค่าให้แก่เด็ก เช่น ขนมกรุบกรอบเป็นซองที่ใส่สารชูรสมาก หรือขนมสำเร็จรูปใส่สี เช่น เยลลี่ ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารเพราะเด็กจะได้รับพิษจาอาหารเหล่านี้กินสะสมเป็นเวลานาน ๆ
3        อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหารหลักได้ จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียว ควรเลือกขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย เช่น ของหวานระหว่างขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกับขนมถั่วแดงน้ำเชื่อม ควรเลือกถั่วแดงที่จะให้คุณค่ามากกว่า โดยอาจใส่สีแดงหรือนมสดในถั่วแดงเป็นถั่วแดงเย็น เพื่อเปลี่ยนรสชาติของเด็ก
การจัดสถานที่และวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดอาหารและการให้บริการ
การจัดอาหารให้แก่เด็กปฐมวัย คือคำนึงถึงสุขลักษณะ ความปลอดภัยในการจัดตรียมอาหาร การประกอบอาหารและการให้บริการแก่เด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดในองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

สถานที่ประกอบอาหาร
เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับประกอบอาหาร
เครื่องใช้สำหรับรับประทานอาหาร
ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อภาชนะ
สถานที่รับประทานอาหาร

ภาพบรรยากาศ 


อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียน และอื่นๆ 





หัวข้อเนื้อหาที่เรียน

ช่วงที่นำเสนอและอธิบายเกี่ยวกับคุณธรรม8ประการ  

ความรู้ที่ได้รับ
                      เกี่ยวกับเรื่องของโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีอะไรมากมายไม่ว่าจะเป็น                         ขั้นตอนต่างๆ วิธีการ รวมถึงคุณค่าของน้ำนม 
ประเมินอาจารย์
                      อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนได้เข้าใจแต่ปล่อยเลยเวลานิดหนึ่งนะ
                 ประเมินเพื่อนร่วมห้อง

     เพื่อนทุกคนที่มาเรียนตั้งใจฟังและทำกิจกรรมต่างๆได้รวดเร็ว
ประเมินตนเอง
     เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนเป็นบางช่วงเวลา

บรรยากาศ 
     อากาศเย็นสบายไม่มีสิ่งใดรบกวน 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น