การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
วันที่ 6 มีนาคม 2561 เวลา 08.30-11.30
ความหมายและความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดา มารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้เจริญเติบโต และมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งผู้อบรมต้องอบรมด้วยความรัก ความเข้าใจ และปรับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดี สามารถเผชิญกับสภาพการณ์ของสังคม และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ และถ้าเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม เด็กก็จะเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพจิตและบุคลิกภาพที่ดี เด็กแต่ละคนจะมีบุคลิกที่แตกต่างกันไป นิสัยต่างๆของเด็กเกิดจากสิ่งแวดล้อมและการอบรมเลี้ยงดูจากผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมหวังให้ลูกมีบุคลิกลักษณะที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น สามารถเข้ากับเพื่อนๆและอาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่ ควรมีวิธีปฏิบัติต่อลูกด้วยความเข้าใจ ควรให้ความรักความอบอุ่นกับลูกอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอทั้งความรู้สึก คำพูดและการแสดงออกของคุณพ่อคุณแม่ควรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะทำให้ลูกรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยและมีอารมณ์ดี ส่วนวิธีที่จะสร้างพื้นฐานทางอารมณ์ให้ลูกสามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่ายก็คือ การทำให้ลูกมีความรู้สึกที่ดีกับทั้งตนเองและต่อผู้อื่น โดยเริ่มที่คุณพ่อคุณแม่ควรยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็น อย่าพยายามเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลูกเรากับลูกคนอื่น ให้คำชมเชยในโอกาสที่เหมาะสม และไม่ควรตำหนิลูกอย่างรุนแรง ควรใช้วิธีอธิบายเหตุผลด้วยคำพูดที่ไพเราะอ่อนโยน เพื่อว่าลูกจะได้นำไปปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วย การให้ความไว้วางใจให้ลูกทำอะไรตามวัย จะทำให้ลูกมีความเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งให้โอกาสลูกได้ตัดสินใจในเรื่องที่สมควร โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเหลือในส่วนที่ลูกต้องการให้จะช่วยและให้คำชื่นชมเมื่อลูกทำสำเร็จ และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเคร่งครัดกับลูกในเรื่องการเรียนมากเกินไป การเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ชอบจะทำให้ลูกเกิดความรอบรู้ผ่อนคลายและเป็นเด็กที่มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใการอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของบุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ เพราะเด็กในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์แม่จนถึง 4 ปี ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด (ประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่) การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีจะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี เฉลียวฉลาด คิดเป็น ทำเป็น และมีความสุข เด็กปฐมวัยจะมีชีวิตรอดและเติบโตได้ก็ด้วยการพึ่งพาพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตราย หากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดูโดยเข้าใจเด็กพร้อมจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เปลี่ยนไปตามวัยได้อย่างเหมาะสมให้สมดุลกันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคมแล้ว เด็กจะเติบโตแข็งแรงแจ่มใส มีความมั่นคงทางใจ รู้ภาษา ใฝ่รู้ และใฝ่ดี พร้อมที่จะพัฒนาตนเองในขั้นต่อไป ให้เป็นคนเก่งและคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีประโยชน์
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม
1. การสร้างความผูกพันรักใคร่
เป็นพื้นฐานสำคัญในการอบรมเลี้ยงดู พ่อ – แม่ ผู้ปกครองจะต้องเริ่มสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กยังอยู่ในวัยแรกเกิด พ่อแม่ ผู้ปกครองได้สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน อุ้มอย่างทะนุถนอม เลี้ยงดูเอาใจใส่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับเด็ก ดูแลความสุขสบายต่าง ๆ พูดคุยกับเด็กด้วยเสียงที่นุ่มนวล เป็นต้น สิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้การอบรมในวัยเด็กได้ผลดีอีกทั้งยังเป็นการสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดกับเด็กอีกด้วย
เป็นพื้นฐานสำคัญในการอบรมเลี้ยงดู พ่อ – แม่ ผู้ปกครองจะต้องเริ่มสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กยังอยู่ในวัยแรกเกิด พ่อแม่ ผู้ปกครองได้สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน อุ้มอย่างทะนุถนอม เลี้ยงดูเอาใจใส่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับเด็ก ดูแลความสุขสบายต่าง ๆ พูดคุยกับเด็กด้วยเสียงที่นุ่มนวล เป็นต้น สิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้การอบรมในวัยเด็กได้ผลดีอีกทั้งยังเป็นการสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดกับเด็กอีกด้วย
2. ระบบการให้รางวัลทางด้านบวก
เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเด็กได้กระทำพฤติกรรมที่พึงปรารถนา จะมีการให้รางวัลหรือสิ่งตอบแทน เช่น ความรัก ความสนใจ คำชมเชย ซึ่งจะทำให้การกระทำนั้นๆ เกิดขึ้นอีก
เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเด็กได้กระทำพฤติกรรมที่พึงปรารถนา จะมีการให้รางวัลหรือสิ่งตอบแทน เช่น ความรัก ความสนใจ คำชมเชย ซึ่งจะทำให้การกระทำนั้นๆ เกิดขึ้นอีก
3. พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรมประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง
4. การควบคุมสิ่งแวดล้อมพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เช่น การจัดให้เล่นเกมเพื่อเด็กจะได้รู้จักกฎเกณฑ์ และการรู้แพ้รู้ชนะ การจัดหาหนังสือที่มีประโยชน์อ่านให้เด็กฟัง เพื่อให้เกิดนิสัยรักการอ่าน เป็นต้น
5. วิธีการตอบสนองกลับ
เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดเพื่อแสดงความรู้สึกของตนออกมาทั้งทางบวกและทางลบ เมื่อเด็กมีปัญหาพ่อแม่ผู้ปกครองควรตัดสินใจฟังเด็กว่ากำลังพูดอะไร เมื่อเด็กพูดจบพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องสะท้อนความรู้สึกที่เด็กได้แสดงออกกลับไป ด้วยคำพูดของพ่อแม่ผู้ปกครองเอง ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับและมีคุณค่า อันจะส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กเข้าใจได้ตรงกัน
เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดเพื่อแสดงความรู้สึกของตนออกมาทั้งทางบวกและทางลบ เมื่อเด็กมีปัญหาพ่อแม่ผู้ปกครองควรตัดสินใจฟังเด็กว่ากำลังพูดอะไร เมื่อเด็กพูดจบพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องสะท้อนความรู้สึกที่เด็กได้แสดงออกกลับไป ด้วยคำพูดของพ่อแม่ผู้ปกครองเอง ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับและมีคุณค่า อันจะส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กเข้าใจได้ตรงกัน
6. การควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์พ่อแม่ผู้ปกครองควรควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับปัญหา วิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้แก่
6.1 การแยกเด็กออกจากกลุ่มในช่วงเวลาสั้น ๆ
6.2 การแยกตัวของพ่อแม่ผู้ปกครอง
6.3 การห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับตัวเด็กในช่วงเวลาหนึ่ง
6.4 การตีจะใช้ก็ต่อเมื่อใช้วิธีการอื่นไม่ได้ผลแล้ว ไม่ควรทำกับเด็ก 2 ขวบ และไม่ควรกระทำอย่างรุนแรง
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่เหมาะสม
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่เหมาะสม มีดังนี้
1. การสั่งสอนไม่ควรเป็นการเทศนา
เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ ไม่สนใจใยดีที่จะฟัง ดังนั้นในการอบรมเลี้ยงดูพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องสอนด้วยเหตุผลสั้น ๆ อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ ไม่สนใจใยดีที่จะฟัง ดังนั้นในการอบรมเลี้ยงดูพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องสอนด้วยเหตุผลสั้น ๆ อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
2. การดุด่า
ไม่ควรนำมาใช้เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเกลียดพ่อ แม่ ผู้ปกครอง
ไม่ควรนำมาใช้เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเกลียดพ่อ แม่ ผู้ปกครอง
3. การขู่
พ่อแม่ผู้ปกครองมักใช้คำขู่เด็กเมื่อมีความโกรธหรือเด็กไม่ยอมทำตาม หรือไม่เชื่อฟัง ดังนั้น ในการสอนหรืออบรมเด็กไม่ควรนำคำขู่มาใช้
พ่อแม่ผู้ปกครองมักใช้คำขู่เด็กเมื่อมีความโกรธหรือเด็กไม่ยอมทำตาม หรือไม่เชื่อฟัง ดังนั้น ในการสอนหรืออบรมเด็กไม่ควรนำคำขู่มาใช้
4. การพูดเสียดสี
เหน็บแนม หรือ ถากถาง ที่พ่อแม่ผู้ปกครองประสงค์ทำเพื่อประชดหรือให้เด็กได้เจ็บโดยหวังว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้วกลับกลายเป็นการทำลายสัมพันธ์ภาพระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก
เหน็บแนม หรือ ถากถาง ที่พ่อแม่ผู้ปกครองประสงค์ทำเพื่อประชดหรือให้เด็กได้เจ็บโดยหวังว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้วกลับกลายเป็นการทำลายสัมพันธ์ภาพระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก
5. การสัญญา
สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ควรอยู่บนพื้นฐานของความ เชื่อถือ เชื่อใจซึ่งกันและกันไม่ใช่การสัญญา
สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ควรอยู่บนพื้นฐานของความ เชื่อถือ เชื่อใจซึ่งกันและกันไม่ใช่การสัญญา
6. การติดสินบน
จะทำให้เด็กทำดีเพียงชั่วครู่เท่านั้น แต่ในระยะยาวแล้วจะไม่ได้ผล เพราะไม่สามารถติดตัวเด็กเป็นนิสัยได้
7. การหลอกหรือหยอกล้อเด็กในทางที่ไม่ควร เพื่อหวังผลให้เด็กหยุดพฤติกรรมที่กำลังทำอยู่ หรือเพื่อความสนุกสนาน นอกจากจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกลัวโดยไร้เหตุผลแล้ว ยังเป็นการขัดขวางความอยากรู้อยากเห็นของเด็กอีกด้วย
จะทำให้เด็กทำดีเพียงชั่วครู่เท่านั้น แต่ในระยะยาวแล้วจะไม่ได้ผล เพราะไม่สามารถติดตัวเด็กเป็นนิสัยได้
7. การหลอกหรือหยอกล้อเด็กในทางที่ไม่ควร เพื่อหวังผลให้เด็กหยุดพฤติกรรมที่กำลังทำอยู่ หรือเพื่อความสนุกสนาน นอกจากจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกลัวโดยไร้เหตุผลแล้ว ยังเป็นการขัดขวางความอยากรู้อยากเห็นของเด็กอีกด้วย
บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในอบรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
พ่อแม่ผู้ปกครองนอกจากจะเลี้ยงดูเด็กให้มีร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยแล้วยังจะต้องมีการพัฒนาทางจิตใจ และทางสังคมในเชิงจิตวิทยาให้กับเด็กด้วย บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย มีดังนี้
1. การตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็กอย่างเพียงพอ
ซึ่งความต้องการพื้นฐานของเด็กแต่ละวัยไม่เหมือนกัน เด็กแรกเกิดจะมีความต้องการทางร่างกายมาก ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน การนอน การขับถ่าย และเมื่อเด็กโตขึ้นควรให้ความมั่นคงปลอดภัย ความอบอุ่นและความรัก
ซึ่งความต้องการพื้นฐานของเด็กแต่ละวัยไม่เหมือนกัน เด็กแรกเกิดจะมีความต้องการทางร่างกายมาก ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน การนอน การขับถ่าย และเมื่อเด็กโตขึ้นควรให้ความมั่นคงปลอดภัย ความอบอุ่นและความรัก
2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนาการของเด็ก
ซึ่งได้แก่ การจัดให้เด็กได้พบกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของเด็ก การเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กเลียนแบบ เป็นต้น
ซึ่งได้แก่ การจัดให้เด็กได้พบกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของเด็ก การเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กเลียนแบบ เป็นต้น
3. การยอมรับในสิทธิของความเป็นคนของเด็ก
การอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ ผู้ปกครองมักจะมี 2 แบบ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 88-91) คือ 1) แบบอัตตาธิปไตยหมายถึง การที่พ่อแม่ผู้ปกครองใช้กฎเกณฑ์ตายตัวและทำทุกอย่างตามกฎเกณฑ์เด็กที่ทำผิดมักจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง และ 2) แบบประชาธิปไตย คือ การอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างมีเหตุผล ให้เด็กมีสิทธิเสรีภาพการยอมรับในสิทธิความเป็นคนของเด็ก
การอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ ผู้ปกครองมักจะมี 2 แบบ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 88-91) คือ 1) แบบอัตตาธิปไตยหมายถึง การที่พ่อแม่ผู้ปกครองใช้กฎเกณฑ์ตายตัวและทำทุกอย่างตามกฎเกณฑ์เด็กที่ทำผิดมักจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง และ 2) แบบประชาธิปไตย คือ การอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างมีเหตุผล ให้เด็กมีสิทธิเสรีภาพการยอมรับในสิทธิความเป็นคนของเด็ก
หน้าที่ของพ่อแม่ (ผู้ปกครอง)
1. เลี้ยงดูลูกให้เจริญเติบโตในสังคม– การ ตอบสนองทางร่างกาย คือการให้อาหารตามหลักโภชนาการ การนอนหลับพักผ่อน การจัดหาเสื้อหา เครื่องนุ่งห่ม การออกกำลังกาย การฝึกหัด การขับถ่าย และการป้องกันโรคและอุบัติเหตุ – การตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยา คือ ความรัก ความอบอุ่น การยอมรับว่าเด็กคือส่วนสำคัญของครอบครัว การเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
2. การอบรมและการให้การศึกษาเบื้องตันการอบรมให้เด็กรู้จักระเบียบสังคม ประเพณีและวัฒนธรรม เพื่อเด็กสามารถปรับตัวในสังคมได้ดีการอบรมมารยาทของสังคม คือ การฝึกมารยาทในการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเวลาสถานที่ และมารยาทในการรับประทานอาหาร
3. การส่งเสริมความสนใจของลูกจัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ลูกมีความสนใจ เช่น อุปกรณ์ระบายสี วาดรูป หนังสือนิทาน
4. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา– ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาต่าง ๆ – ส่งเสริมให้ลูกมีความมั่นใจในตน – ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์– ส่งเสริมให้ลูกมีโอกาสทำในสิ่งที่สนใจ – ส่งเสริมความรับผิดชอบในการทำงานต่างๆ – ส่งเสริมให้ลูกรู้จักสังเกต และความสนใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตนเอง – ส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาเพื่อให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ทางภาษาต่อไป
5. การถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคมส่งเสริมอบรมให้ลูกเข้าใจในด้านวัฒนธรรมของชาติ และประเพณีต่าง ๆ
ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
1. ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่
หมายถึง บทบาทของพ่อแม่ของเด็กในฐานะคู่สมรสจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ที่มีต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นดังนี้ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 84)
หมายถึง บทบาทของพ่อแม่ของเด็กในฐานะคู่สมรสจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ที่มีต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นดังนี้ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 84)
1.1 ครอบครัวที่เรียกว่า “บ้านแตก” (Broken Home) ซึ่งได้แก่ ครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้างกัน หรือแยกกันอยู่ จะทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องของการปรับตัวและทำให้เด็กมีพฤติกรรมเกเร มีปมด้อย เป็นโรคประสาท
1.2 ครอบครัวที่พ่อแม่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตสมรสได้ดี เช่น ทะเลาะกันบ่อย ๆ จะทำให้เด็กมีปัญหาได้
1.3 ครอบครัวที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้แก่เด็ก จะทำให้เด็กรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ขาดความรักและความเอาใจใส่ อาจส่งผลให้เด็กมีบุคลิกลักษณะไม่ดีเท่าที่ควร
1.4 เด็กกำพร้า เช่น พ่อแม่เสียชีวิต หรือแต่งงานใหม่ จะส่งผลต่อการปรับตัวของเด็กเป็นอย่างมาก
1.5 ครอบครัวที่มีบรรยากาศเป็นกันเอง พ่อแม่รักใคร่กันดี จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตไปในทางที่ดีและเด็กจะไม่มีปัญหา
2. ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก
หมายถึง ความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกและความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อแม่ ความสัมพันธ์แบบนี้มักจะขึ้นอยู่กับเจตคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ทั้งนี้เพราะพ่อแม่มีเจตคติต่อลูกอย่างไร ก็จะปฏิบัติต่อลูกอย่างนั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 แบบ ดังนี้ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 84-87)
หมายถึง ความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกและความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อแม่ ความสัมพันธ์แบบนี้มักจะขึ้นอยู่กับเจตคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ทั้งนี้เพราะพ่อแม่มีเจตคติต่อลูกอย่างไร ก็จะปฏิบัติต่อลูกอย่างนั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 แบบ ดังนี้ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 84-87)
2.1 พ่อแม่รักและคอยช่วยเหลือเอาใจใส่ลูกมากเกินไป ผลที่พ่อแม่ตามใจเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา เด็กไม่กล้าทำอะไรเอง ตัดสินใจอะไรตามลำพังไม่ได้ เมื่อเข้าโรงเรียนจะประสบปัญหายุ่งยากต่าง ๆ
2.2 พ่อแม่เอาใจลูกมากเกินไป พ่อแม่ประเภทนี้จะตามใจลูกและยอมลูกทุกอย่างต่อไปเด็กพวกนี้จะเป็นคนที่ดื้อรั้น ไม่ยอมฟังผู้ใหญ่ และเอาแต่ใจตนเอง
2.3 พ่อแม่ที่ทอดทิ้งเด็ก พ่อแม่ประเภทนี้จะไม่เอาใจใส่เด็ก ไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพของเด็ก ผลของการที่พ่อแม่ทิ้งเด็กมากเกินไปจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบเรียกร้องความสนใจ ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอน ชอบทะเลาะกับเพื่อนฝูงอยู่เสมอ หรือเป็นเด็กที่ยอมแพ้ผู้อื่น ขี้อาย ขลาดกลัว และมีอารมณ์ที่ไม่มั่นคง
2.4 พ่อแม่ยอมรับเด็ก พ่อแม่ประเภทนี้จะยอมรับและเห็นความสำคัญของเด็กทำให้เด็กเกิดความอบอุ่น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และเด็กเป็นไผปอย่างราบรื่น
2.5 พ่อแม่ที่ชอบบังคับลูก พ่อแม่ประเภทนี้จะให้เด็กทำตามทุกอย่าง เด็กจะมีพฤติกรรมทางสังคมดี มีสัมมาคารวะมากกว่าเด็กที่พ่อแม่ปล่อยให้เป็นอิสระ แต่อย่างไรก็ตามเด็กพวกนี้จะเป็นคนขี้อาย มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่มากระทบกระเทือน มีปมด้อย ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
2.6 พ่อแม่ยอมจำนนต่อลูก พ่อแม่ประเภทนี้จะยอมให้ลูกเป็นใหญ่ มีสิทธิภายในบ้านลูกต้องการอะไรพ่อแม่จะหามาให้ทั้งสิ้น จะทำให้ลูกทำตัวเป็นนายข่มพ่อแม่ ไม่ค่อยเคารพนับถือพ่อแม่เท่าที่ควร
พัฒนาการและความพร้อมทางด้านร่างกาย
จุดมุ่งหมายของการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย การจัดประสบการณ์หรือการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายให้แก่เด็กในระดับชั้นอนุบาลศึกษา มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2537ก : 3)
1. มีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย
2. พัฒนากล้ามเนื้อและประสาทสัมพันธ์
3. มีสุขนิสัยในการรักษาสุขภาพอนามัย
4. เรียนรู้การระวังและรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
2. พัฒนากล้ามเนื้อและประสาทสัมพันธ์
3. มีสุขนิสัยในการรักษาสุขภาพอนามัย
4. เรียนรู้การระวังและรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า จุดมุ่งหมายของการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายเพื่อต้องการให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง การกระโดด ใช้มือรับสิ่งของ ตัดกระดาษ วาดภาพ หรือใช้เชือกร้อยวัสดุขนาดเล็ก – ใหญ่ได้
พัฒนาการและความพร้อมทางด้านอารมณ์ – จิตใจ
พัฒนาการทางด้านอารมณ์ – จิตใจของเด็กปฐมวัย (อายุ 3 – 6 ปี)
เด็กวัยนี้มักจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด และโกรธง่าย โมโหร้ายโดยปราศจากเหตุผล มักจะแสดงอาการขัดขืนและดื้อดึงต่อพ่อแม่เสมอ เป็นวัยที่เรียกว่า ชอบปฏิเสธ ซึ่งเป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เรียกว่า Nagative Stage เมื่อเด็กคบหาสมาคมกับเพื่อน ๆ อารมณ์ดังกล่าวจะค่อย ๆ หายไป อย่างไรก็ตามพัฒนาการทางอารมณ์ – จิตใจของเด็กจะมั่นคงเพียงใด ขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูเป็นสำคัญ
พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสรุปเป็นเรื่อง ๆ ได้ดังนี้
1. ความโกรธ (Anger) อารมณ์โกรธของเด็กวัยนี้มักเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจากมีสิ่งเร้าหลายประการเข้ามาเราให้เด็กโกรธ เช่น ถูกขัดใจเรื่องของเล่น ถูกรังแก เป็นต้น
2. อารมณ์กลัว (Fear) เนื่องจากเด็กวัยนี้มีสติปัญญาพัฒนาขึ้นทำให้หวาดกลัวสิ่งต่าง ๆ มากกว่าเด็กวัยเด็กเล็ก เพราะว่ามองเห็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนได้
3. ความอิจฉาริษยา (Jealosy) ความอิจฉาริษยาของเด็กวัยนี้เกิดขึ้นเนื่องจากพ่อ แม่ พี่น้อง หรือคนเลี้ยงหันไปสนใจและเอาใจใส่น้องเล็กมากกว่าตน
4. ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นและจะสงสัยสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่รู้จบสิ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุประมาณ 6 ปี เด็กจะถามมากที่สุด
5. ความรัก (Love) ความรักของเด็กวัยนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเด็กก่อน คือ รักตนเองก่อนและต่อมาจึงมีจิตใจรักผู้อื่น ในเด็กอายุ 5 ปี นั้น มารดาจะกลายเป็นศูนย์กลางของชีวิตในโลกของเด็ก เด็กจะชอบอยู่ใกล้ ๆ แม่ ติดตามแม่ไปทุกหนทุกแห่ง แต่พออายุ 6 ปี เด็กจะหันมาชื่นชมและนิยมพ่อมากกว่าแม่
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยความแตกต่างของเด็กขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูที่ต่างกัน ซึ่งส่งผลถึงนิสัยที่จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิตการอบรมเลี้ยงดูลูกมีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย
เป็นการอบรมเลี้ยงดูลูก ซึ่งได้แก่ ความรัก ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ ต้องใช้เหตุผลกับลูกให้ลูกรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติด้านความยุติธรรม และไม่ใช้เพียงแต่ให้ความรักอย่างเดียว ต้องให้ความสำคัญแก่ลูก โดยถือว่าลูกคือส่วนสำคัญต่อครอบครัว พ่อแต้องให้ในสิ่งที่ลูกต้องการจริง ๆ
หลักการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่จะทำได้คือ
1. พ่อแม่ให้สิทธิแก่ลูกในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้เขาเป็นตัวเองให้มากที่สุด จะต้องไม่คิดแทนลูก ฝึกให้เขาทำได้คิดตัวเอง
2. พ่อแม่มีหน้าที่ให้สิ่งต่าง ๆ ตรงกับพัฒนการตามความต้องการเหมาะสม และความสามารถทางร่างกาย
3. พ่อแม่ควรต้องเอาใจใส่ ต่อควาทคิดเห็นของลูก สนใจกิจกรรมต่าง ๆ ของลูก ให้คำแนะนำ สิ่งเสริมและเฝ้าดูผลสำเร็จในงานของลูกด้วยความตั้งใจและอดทน
4. พ่อแม่ควรมีเวลาใกล้ชิดลูก และทำตัวเป็นเพื่อนที่ดีของลูก ให้คำแนะนำมากกว่าการออกคำสั่งให้ทำ ควรเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตยไม่ใช่เผด็จการ เพราะจะช่วยให้เด็กได้เติบโตอย่างมีอิสระตามพัฒนาการขั้นต่างๆ
5. พ่อแม่ควรใช้แรงเสริมเป็นตัวสร้างบุคลิกภาพของเด็กตามที่ต้องการจะให้เด็กเป็น พ่อแม่จะต้องเป็นแบบอย่างโดยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ลูกเห็นอย่างเด่นชัด
6. พ่อแม่ควรส่งเสริมความเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ลูก โดยให้อิสระแก่ลูกควบคู่ไปกับการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทำให้ทั้งสองสิ่งมีความสมดุลกันขึ้นในตัวของลูก
7. พ่อแม่ควรจะใช้วิธีการลงโทษให้เหมาะสม ทฤษฏีของโคเบอร์ก กล่าวว่า เด็กอายุ 1-7 ปี การทำโทษทางกายยังใช้ได้ดี เพราะทำให้เกิดการเรียนรู้ การตีเด็ก ควรตีเพราะสั่งสอนมิใช่เพราะโกรธ
8. การฝึกวินัยให้ลูกเป็นสิ่งจำเป็น ควรเริ่มทำในเมื่อลูกโตพอที่จะเข้าใจเหตุผล การยัดเยียดให้เด็กมีระเบียบวินัยมากเกินไปในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน เอาแต่ใจ
9. พ่อแม่ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ลูกเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
10. พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทีจะอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยเฉพาะในเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กได้ปรับตัวเข้ากับสังคม และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ผลของการเลี้ยงลกแบบประชาธิปไตย เด็กจะมีลักษณะ ดังนี้
- จะเป็นคนเปิดเผย เป็นตัวของตัวเอง มีเหตุผล
- มีความรับผิดชอบ
- มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี
- เรียนรู้อะไร ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถปรับตัวได้ดี และกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ
- สามารถช่วยเหลือตนเองและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
- มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี
- ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์
- มีความเข้าใจตนเองสูง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
- รู้จักใช้เหตุผล เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น
วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักทำดังนี้
1. เคี่ยวเข็ญให้ลูกทำตามสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีเท่านั้น
2. มักจะดุด่าว่ากล่าวเมื่อเวลาที่ลูกอธิบายหรือแสดงเหตุผลคัดค้าน
3. กำหนดรายการอาหารทุกมื้อแก่ลูก และลูกต้องกินหมดทุกครั้ง
4. กำหนดวิธีการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเล่น การเที่ยว ขึ้นอยู่กับพ่อแม่
ผลของการเลี้ยงลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก เด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ลูกจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ ปรับตัวกับสังคมภายนอกได้ยาก
- ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
- ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
- ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ชอบพึ่งพาผู้ใหญ่
วิธีที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่มักจะทำ
1. ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูก ลูกจะเลนอะไร อย่างไร พ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่
2. เวลาพ่อแม่อารมณ์ไม่ดี มักจะระบายออกด้วยการทำโทษเด็กเสมอ
3. เวลาลูกถามมักพูดว่า “อย่ามากวนใจ ไปให้พ้น”
4. ชอบพูดขู่ลูกเสมอเวลาลูกเล่นซน ถ้าเด็กไม่กลัวก็จะตีลูกอย่างรุนแรง
5. ปล่อยให้ลูกทำอะไรต่าง ๆ ตามใจชอบ ไม่ค่อยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมให้
6. มักรักลูกไม่เท่ากัน โดยปฏิบัติตนกับลูกอย่างลำเอียง
ผลของการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย เด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ลูกจะมีลักษณะก้าวร้าว ชอบทะเลาะเบาะแว้วกับผู้อื่นบ่อย ๆ
- มีทัศนคติไม่ดีต่อพ่อแม่ บางครั้งถึงกับเกลียดชังพ่อแม่ตัวเอง ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
- ลูกมีอาการเซื่องซึม ไม่สามารถปรับตัวได้ง่าย มีความตึงเครียดทางอารมณ์
วิธีที่ 4 การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป การเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักจะทำดังนี้
1. คอยชี้แนะช่วยเหลือเพื่อนตลอดเวลา
2. ไม่ยอมให้ลูกเล่นกับเพื่อน ๆ เพราะกลัวลูกจะถูกรังแก
3. ไม่ยอมให้เด็กกินอาหารเอง เพราะกลัวจะทำเลอะเทอะ
4. มักช่วยลูกทำการบ้านเสมอ
5. ไม่ยอมให้ลูกกินอาหารหรือขนม จนกว่าพ่อแม่จะได้ชิมเสียก่อน
6. เมื่อลูกเจ็บป่วยเล็กน้อย พ่อแม่จะวิตกกังวลมาก
7. ไม่ยอมให้ลูกได้ช่วยตนเองเวลาทำงานต่าง ๆ
ผลของการเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป เด็กมีลักษณะดังนี้
- เป็นเด็กที่เอาแต่ใจตนเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเชื่อมั่นในตนเอง
- คอยพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ พึ่งตนเองไม่ได้
- ไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยตนเอง ปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ยาก
- มีแนวโน้มสุขภาพจิตเสีย และมีอาการทางประสาท
การอบรมเลี้ยงดูลูกในวัยเด็กเล็กในสังคมปัจจุบันพ่อแม่
โดยทั่วไปพ่อแม่มุ่งที่จะฝึกฝนอบรมลูก ดังนี้
- เป็นคนที่มีความเป็นระเบียบและความรับผิดชอบ
- เป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร
- เป็นคนที่รู้จักประหยัด
- เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์
- เป็นคนที่มีเหตุผล
- เป็นคนที่มีความประพฤติดีมีจริยธรรม และรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี
การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
- ฝึกให้แต่งกายเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ
- กำหนดเวลากิจกรรมและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆตามเวลาที่เหมาะสม
- รู้จักการทำงานอย่างมีขั้นตอน รับผิดชอบต่องาน
- ฝึกให้เก็บของที่ตกหล่นทุกครั้ง
- ฝึกเก็บของให้ถูกต้องและเข้าที่
- ฝึกให้ดูแลสิ่งของต่าง
การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความขยันหมั่นเพียร
- ฝึกให้ลูกทำงานโดยกำหนดงานให้ทำ และทำงานให้เป็นเวลา
- ฝึกให้ทำงานอดิเรกอื่น ๆ ตามความสนใจ
- ฝึกให้รู้จักจุดมุ่งหมายในการทำงาน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
การฝึกให้ลูกเป็นคนประหยัด
- ฝึกให้ลูกรู้จักเก็บออมเงิน และให้เงินอย่างเหมาะสม
- ฝึกให้รู้จักถนอมของใช้ของเล่นและซ่อมรักษาของให้ใช้ได้เสมอ
- ฝึกให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
การฝึกให้ลูกเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์
- ชี้แจงให้ลูกทราบถึงความไม่ซื่อสัตย์
- เมื่อลูกพูดความจริง แม้เป็นเรื่องเสียหายก็ไม่ควรดุหรือลงโทษ
- ชมเชยเมื่อลูกทำความดี โดยเฉพาะความซื่อสัตย์
การฝึกให้ลูกเป็นคนมีเหตุผล
- ให้ลูกแสดงเหตุผลต่อพ่อแม่ ในการที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งใด
- ชี้แจงและบอกเหตุผลในกรณีที่ส่งเสริมให้กระทำหรือห้ามกระทำสิ่งใด
การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความประพฤติดี มีกริยามารยาทและรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
- ฝึกให้ลูกแสดงความเคารพบิดามารดาและผู้ใหญ่
- พ่อแม่ควรทำแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก
- ฝึกให้ลูกปฏิบัติตนให้เหมาะสมตามประเพณีไทย
หลักในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญทุกด้าน ดังนี้
1. ด้านร่างกาย ส่งเสริมความเจริญเติบโตของร่างกาย ปลูกฝังสุขภาพอนามัย และสุขนิสัยที่ดี
2. ด้านอารมณ์จิตใจ ปลูกฝังให้รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง มีสัมมาคารวะ เคารพและเชื่อฟังผู้ใหญ่
3. ด้านสังคม ปลูกฝังให้เด็กรู้จักปฏิบัติตนต่อหมู่คณะ แสดงออกในทางที่ถูกที่ควร
4. ด้านสติปัญญา ส่งเสริมปฏิภาณไหวพริบ รู้จักหาเหตุผล ให้เกิดความเข้าใจด้วยตนเอง
การอบรมเลี้ยงดูเด็ก กับการส่งเสริมพัฒนาด้านร่างกาย
หลักในการปฏิบัติของพ่อแม่และผู้ปกครอง เพื่อปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีให้แก่เด็ก ควรปฏิบัติดังนี้
1. หัดให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์ทุกชนิด
2. หัดให้เด็กกินอาหารแปลก ๆ และคุ้นเคยกับอาหารชนิดใหม่ ๆ
3. หัดให้เด็กรับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ และจัดอาหารให้น่ากิน เพื่อกระตุ้นการอยากอาหาร
4. ลักษณะและรสชาติของอาหาร ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และรสอ่อน
5. จัดอาหารว่างให้เด็กในตอนเช้าหรือบ่าย และจัดบรรยากาศในการกินที่ดี
6. ผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมารยาทในการรับประทานอาหาร
7. สร้างสุขนิสัยที่ดีในการกินอาหาร
8. หัดให้เด็กดื่มนมหรือน้ำผลไม้
9. งดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
สุขภาพและอนามัย
1. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็ก และเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
2. ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายของเด็กอย่างสม่ำเสมอ
3. ป้องกันเด็กจากโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุต่าง ๆ
4. รักษาพยาบาลเมื่อเด็กเจ็บป่วย หรือจากอุบัติเหตุอย่างถูกวิธี
5. ให้เด็กได้เล่นและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการ
6. จัดหาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ให้เด็กอย่างเพียงพอและเหมาะสม
การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์
การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู ตลอดจนครูผู้ดูแลเด็กควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ให้ความรักและความอบอุ่น ความเอาใจใส่และความเข้าใจเด็ก
2. ให้เด็กได้เล่นตามความต้องการของตนเอง
3. เล่านิทานเพื่อความเพลิดเพลินและปูพื้นฐานทางจิตใจแก่เด็ก
การเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม
การเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย พ่อแม่ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. การเล่น ช่วยให้มีโอกาสฝึกการเข้าสังคม เรียนรู้การที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
2. การพาเด็กไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ทำให้เด็กได้รู้จักสังคมนอกบ้าน
3. การพาเด็กไปรู้จักกับญาติพี่น้อง ลูก ๆ หลาน ๆ ในวัยเดียวกัน หรือบ้านเพื่อน ๆ
การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู ตลอดจนถึงครู ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. อาหาร นอกจากจะมีความสำคัญทางด้านร่างกายแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ถ้าเด็กขาดสารอาหารสมองจะไม่พัฒนา
2. การเล่น ช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
3. การฟังและการพูด เป็นกุญแจสำคัญของการเรียนรู้ในช่วง 1-3 ขวบ
4. ทักษะต่าง ๆ ทางด้านความคิด พ่อแม่ควรคิดถึงทักษะต่าง ๆ ที่เด็กจะได้เรียนรู้โดยผ่านการทดลองและแก้ปัญหา
4.1 การส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมทางด้านภาษา
ภาษามีความสำคัญต่อเด็กมาก เด็กจะต้องสื่อสารกับผู้อื่นได้ การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษานั้น พ่อแม่ควรมีความรู้ พ่อแม่ควรมีความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนในการพัฒนาทางด้านภาษา เพื่อหาวิธีส่งเสริมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางด้านภาษามีดังนี้
- การเล่านิทาน
- การเล่นบทบาทสมมุติ
- การสนทนาและพูดคุยกับเด็ก
4.2 การส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และพัฒนาทักษะทางด้านคณิตศาสตร์
เป็นกิจกรรมที่มีกฏเกณฑ์และกติกาที่แนะนอน เด็กจะได้รับความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย เป็นการฝึกการใช้เหตุผล พัฒนาด้านสติปัญญา
4.3 การส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์
4.3.1 การตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจถึงเหตุและผล ทำให้เด็กได้เกิดความคิดรวบยอด และหาข้อสรุปจากประสบการณ์ด้วยตนเอง
4.3.2 จัดประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์ ควรจัดและเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และสัมผัส อุปกรณ์ต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจ ตื่นตัวอยากค้นคว้าและทดลอง
อาหารเสริมตามวัยสำหรับทารกในปีแรกที่พ่อแม่
คุณพ่อคุณแม่คงจะมีคำถามมากมาย ตามที่เกริ่นไปข้างต้นอย่างแน่นอนใช่ไหมละคะ เพื่อเป็นการตอบนานาคำถามนี้ เราได้สรุปประเภทอาหารเสริมที่แนะนำตามอายุของทารกน้อยมาให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจอย่างง่ายๆ รวมถึงจุดสังเกตพัฒนาการความพร้อมในการกินแต่ละช่วงอายุ
อายุลูกน้อย | พัฒนาการการกิน | ประเภทอาหารที่แนะนำ |
---|---|---|
แรกเกิด- 4เดือน | ปฏิกิริยาตอบสนองการทานนมแม่ คือ การหันหน้าเข้าหาอกแม่ การดูดและการกลืน มีปฏิกิริยา ตอบสนองเมื่อมีวัตถุสัมผัสหรือกดลิ้นโดยการเอาลิ้นดุนสิ่งนั้นออกมา (extrusion reflex) | ของเหลวเท่านั้น นมแม่ |
4-6 เดือน | มีความพร้อมในการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว สามารถชันคอได้มั่นคง มีการทรงตัวของลำตัวได้ดี คว้าของได้ เริ่มเอาของเข้าปาก (extrusion reflex)ใช้ขากรรกรขยับขึ้นลงในการบดอาหาร | ของเหลวเท่านั้น นมแม่ |
6-8 เดือน | นั่งได้ดีขึ้น บดเคี้ยวอาหาร ถือขวดนมเองได้ ส่งเสียงในระหว่างมื้ออาหาร เพื่อแสดงความต้องการ | นมแม่ และ อาหารตามวัย 1 มื้อ อาหารควรมีเนื้อละเอียดโดยการบดเพื่อให้กลืนได้ง่าย ข้าวบดหรือข้าวตุ๋นพอหยาบ เลือกใช้ผักใบเขียวหรือเหลืองส้มที่อ่อนนุ่ม กลิ่นไม่แรง เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง หรือแครอท อาหารที่มีโปรตีนสูงแต่อ่อนนุ่มบดง่าย เช่น ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้ปลา ปลา กล้วยครูดสุกหรือผลไม้ |
8-10 เดือน | เริ่มใช้นิ้วมือได้ดีขึ้น เริ่มกำช้อนได้แต่ยังไม่สามารถใช้ได้ดี หยิบอาหารชิ้นเข้าปากทานเองได้ ทานอาหารแข็งได้ดีขึ้น เริ่มชอบทานอาหารที่มีรสชาติ และลักษณะอาหารใหม่ๆ | นมแม่ และ อาหารตามวัย 2 มื้อ อาหารควรหยาบมากขึ้น ข้าวบดหรือข้าวตุ๋นพอหยาบ และ อาหารที่สามารถหยิบทานเองได้ เช่น ฟักทองนึ่ง มันต้มที่หั่นเป็นชิ้นยาว เป็นต้น เลือกใช้ผักใบเขียวหรือเหลืองส้มที่อ่อนนุ่ม กลิ่นไม่แรง เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง หรือแครอท อาหารที่มีโปรตีนสูงแต่อ่อนนุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่ ตับไก่ เลือด ตับ ปลา หมูสับหรือบด หมุนเวียนสลับกันไป ผลไม้หั่น |
10-12 เดือน | ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ดี ใช้ช้อนป้อนตัวเองได้บ้าง ฟันขึ้นหลายซี่ สามารถขบเคี้ยวได้เก่งขึ้น เริ่มเรียนรู้ในการทิ้งของและอาหารลงพื้น เริ่มถือถ้วยเองได้ ส่งเสียงและขยับตัวระหว่างมื้ออาหารได้มากขึ้น | นมแม่ และ อาหารตามวัย 3 มื้อ อาหารที่หยิบกินเองได้ อาจเป็นอาหารหั่นแบบลูกเต๋าและสับละเอียด ทานอาหารเหมือนช่วงอายุ 8-10 เดือนแต่ปริมาณมากขึ้น |
12 เดือนขึ้นไป | ต้องการทานอาหารด้วยตนเอง เริ่มถือถ้วยได้ดีขึ้น โดยใช้สองมือประคองถ้วย ชอบเล่นอาหารและอาจทำเลอะเทอะ | อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ ควรมีสารอาหารครบถ้วน และดัดแปลงจากอาหารของผู้ใหญ่ โดยทำให้สุก อ่อนนุ่ม ชิ้นเล็กเคี้ยวง่าย และรสไม่จัด |
*นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถให้กินนมแม่ได้ หรือจำเป็นต้องให้กินอาหารเสริม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรให้ทารกกินนมดัดแปลงชนิดเสริมธาตุเหล็ก
รูปภาพและบรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้
ตัวอย่างการเรียนการสอน
ตัวอยางการเรียนการสอน
ตัวอย่างการเรียนการสอน
งานมอบหมายเป็นงานกลุ่ม
บรรยากาศในห้องเรียน
ความรู้ที่ได้
รู้ในเรื่องของการให้น้ำนมลูก การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ในสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ
ประเมินอาจารย์
อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจและสามารถตอบคำถามนักศึกษาได้
ประเมินตนเพื่อนร่วมห้อง
ในช่วงเเรกๆของการเรียนก้เงิยบเเละตั้งใจฟังดีแต่พักหลังๆเพื่อนจะเสียงดังหน่อยหนึ่งเเต่ไม่มากเท่าไหร่
ประเมินตนเอง
ประเมินตนเอง
เข้าใจเนื้อหาได้ดีพอสมควร
บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกและสามารถชักถามข้อคำถามที่ข้องใจได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น