การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
วันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 08.30-11.30
วันนี้เรียนเกี่ยวกับแนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการปลูกผังคุณธรรม จริยธรรมและเนื้อหาที่เรียนคราวๆตามนี้
ความหมายของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท
ดังนี้
1.
สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit
environment) ได้แก่
การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
เช่น ระบบย่อยอาหาร
ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
2.
สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์
เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์
รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (abstract) ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก
คือ
เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ
ในสังคม ทั้งในวัยเด็ก
และวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆ กัน
กระบวนการของการอบรมให้คนเป็น
สมาชิกของสังคมนั้น
จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยม
ของสังคมที่คนๆ นั้นเกี่ยวข้องด้วย
เนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่
เปลี่ยนไปก็จะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายความว่า
การกระทำของเด็กคนหนึ่งจะมีผลต่อคนที่อยู่รอบๆ
ข้าง และผลจาก
การกระทำของคนที่อยู่รอบๆ ข้าง
จะมีผลกระทบต่อเด็ก ทั้งนี้เพราะ
เด็กอยู่ในสังคม
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก
ปฐมวัยมีดังนี้
1.
ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2.
ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3.
ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4.
ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กโดยพฤติกรรม
บางอย่างจะถูกกระตุ้นให้เร็วขึ้น
โดยสิ่งแวดล้อมหรืออาจจะช้าลงถ้าเด็กไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
3.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
เป็นการจัดวัสดุ
อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ
และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร และภายในห้องเรียน
2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน
ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
สอดคล้องและเสริมประสบการณ์ โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ
2.1
สนาม
2.2
สวนในโรงเรียน
สมองกับการเรียนรู้โดยใช้สื่อและการจัดสภาพแวดล้อม
การเลือกสื่อและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาการและการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ
ในสมอง (Brain
- Based Learning)
1.
สื่อ
1.1
เพลง
1.2
เครื่องดนตรี
1.3
หนังสือ
การจัดสภาพแวดล้อม
1. สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนต้องปลอดภัย
สะอาด ดึงดูดใจ และกว้างขวางพอกับสนามเด็กเล่น
2.
พื้นที่จัดกิจกรรมต้องกำหนดให้ชัดเจนเด็กต้องมีพื้นที่ที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง
และทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆหรือกลุ่มใหญ่
3.
พื้นที่สำหรับเด็กต้องจัดให้สะดวกสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ
อาจจัดเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล
4.
สีที่ใช้ทาห้องเรียนและอาคารควรใช้สีที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นสีอ่อนเย็น
เช่น สีเขียว (ก้านมะลิ) สีฟ้า (เทอร์ควอยซ์) สีเหลือง (อ่อน) เป็นต้น
5.
สื่อหรืออุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก มีปริมาณเพียงพอ มีหลากหลาย
และมีความทนทาน
6.
จัดหาที่ให้เด็กได้เก็บของใช้ส่วนตัวเป็นสัดส่วนชัดเจน
7.
ต้องจัดมุมสงบไว้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
8.
สภาพแวดล้อมควรมีส่วนที่อ่อนนุ่มบ้าง เช่น พรม เบาะสนามหญ้า
9.
ใช้วัสดุดูดเสียงเพื่อลดเสียงดังเพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เด็กเหนื่อยและเครียดได้
10.
พื้นที่นอกอาคารควรมีพื้นผิวหลายประเภท
11. ห้องน้ำ ห้องส้วม
ควรจัดอย่างเหมาะสมกับตัวเด็กและถูกสุขลักษณะ
12.
สภาพของห้องและบริเวณอาคารควรจัดให้ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
13.
เครื่องเล่นสนามต้องมีความปลอดภัย
14.
ขยะและน้ำโสโครก มีกำจัดขยะทุกวันหรือเป็นประจำ
15.
สถานที่เตรียมและปรุงอาหารทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง
16.
สถานที่รับประทานอาหาร ตัวอาคารไม่อับทึบ ไม่มีหยากไย่ มีแสงสว่างเพียงพอ
พื้นที่ทำด้วยวัสดุแข็ง
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
ในเด็กปฐมวัย
ความหมายของคำว่า จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
“จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร”
“จริยธรรม คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ”
ส่วนความหมายในแง่ของการนำไปสู่การปฏิบัตินั้น
จริยธรรม มีความหมายตามที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า จริยธรรม
เป็นแนวทางที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการประพฤติ ปฏิบัติตนให้เป็นคนดี
เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม
โดยการปฏิบัตินั้นจะทำในสิ่งที่สังคมยอมรับและเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม
บุคคลที่มีความประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง เหมาะสม สังคมยอมรับ
ทำให้เกิดความมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม เรียกว่าเป็นผู้ที่มีจริยธรรม
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คนที่มีจริยธรรม คือ บุคคลที่มีความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี
นั่นเอง
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
(Kolhberg’s theory of morals resoning)
โคลเบอร์ก
เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อม ๆ
กับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์ ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม
สำหรับเด็กปฐมวัย จะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์
เด็กวัยนี้จึงตัดสินความถูกผิดจากความรู้สึกของตนเอง และตามกฎเกณฑ์ที่
ผู้อื่นกำหนดโดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง (Punishment and obedience oreintation) เด็กวัยนี้จะประพฤติตนตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพราะหลีกเลี่ยงการลงโทษ ความถูก ผิด ตัดสินโดยพิจารณาผล ถ้าถูกลงโทษถือว่าทำไม่ดี เด็กวัยนี้จึงยังไม่มีเหตุผลในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ นอกจากปฏิบัติตามคำสอนของผู้ใหญ่
ขั้นตอนที่ 2
การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง (Punishment and obedience oreintation) เด็กวัยนี้จะประพฤติตนตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพราะหลีกเลี่ยงการลงโทษ ความถูก ผิด ตัดสินโดยพิจารณาผล ถ้าถูกลงโทษถือว่าทำไม่ดี เด็กวัยนี้จึงยังไม่มีเหตุผลในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ นอกจากปฏิบัติตามคำสอนของผู้ใหญ่
ขั้นตอนที่ 2
การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว (Personal reward
Oreintation) เด็กจะนำความต้องการของตนมากำหนดสิ่งที่ถูกและผิด
ถ้าหากปฏิบัติสิ่งใดแล้วได้รางวัลก็จะยึดถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ดังนั้นการชมเชยและให้รางวัลเมื่อเด็กทำในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม
จึงเป็นวิธีสอนจริยธรรม ความประพฤติให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถตัดสินสิ่งต่าง
ๆ ได้ด้วยเหตุผลของตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
สกินเนอร์ (Skinner) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม ถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลพฤติกรรมนั้นว่า การเสริมแรงทางบวก แต่ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเรียกผลของพฤติกรรมนั้นว่า การลงโทษ การอธิบายถึงการเรียนรู้ด้านจริยธรรมผ่านกระบวนการเสริมแรงและการลงโทษ หากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีแล้วได้รับการชมเชย ยกย่อง คือ เด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก แต่หากแสดงพฤติกรรมใดแล้วถูกลงโทษ เด็กจะระงับหรือหยุดการกระทำนั้น ๆ ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมของเด็กจึงขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะตัดสินว่า พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เหมาะสม แล้วนำมาใช้ในการอบรมปลูกฝังเด็ก
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
แบนดูรา (Bandura) นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่า
พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้ โดยการสังเกตจากตัวแบบ
ทั้งตัวแบบในชีวิตจริง หรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ ทั้งนี้ตัวแบบจะทำหน้าที่ทั้งสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรม
และจะทำหน้าที่ในการระงับ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
เด็กปฐมวัยจึงเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมจากตัวแบบ
ผู้ใหญ่และสังคมจึงเป็นตัวแบบที่เด็กดูสังเกตและลอกแบบ
การสอนจริยธรรมในแนวคิดนี้คือ การสร้างและเลือกตัวแบบที่ดีให้เด็กได้สังเกต สำหรับกระบวนการในการพัฒนาการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดนี้มี 4 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการตั้งใจ เป็นการที่เด็กได้เห็นตัวแบบที่น่าสนใจ ดังนั้นตัวแบบจึงต้องแสดงพฤติกรรมจริยธรรมที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน และเมื่อเด็กสนใจแสดงพฤติกรรมที่ดีจะต้องมีการเสริมแรง เพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมซ้ำ
ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการตั้งใจ เป็นการที่เด็กได้เห็นตัวแบบที่น่าสนใจ ดังนั้นตัวแบบจึงต้องแสดงพฤติกรรมจริยธรรมที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน และเมื่อเด็กสนใจแสดงพฤติกรรมที่ดีจะต้องมีการเสริมแรง เพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมซ้ำ
ขั้นตอนที่ 2
กระบวนการเก็บจำ เมื่อเด็กสังเกตเห็นตัวแบบแสดงพฤติกรรมที่ดี
และได้รับการยกย่องชมเชย และได้เห็นตัวแบบแสดงพฤติกรรมบ่อย ๆ
เด็กเกิดความสนใจต้องการแสดงพฤติกรรมเช่นเดียวกับตัวแบบ
เด็กจะหาวิธีเก็บและจดจำข้อมูลการแสดงพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสถานการณ์
ขั้นตอนที่ 3
กระบวนการกระทำ
เมื่อเด็กจดจำข้อมูลได้และเก็บไว้ในความคิดเมื่อเผชิญสถานการณ์
เด็กจะนำข้อมูลมาแสดงเป็นพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของตัวแบบ
เพื่อให้ได้ผลเหมือนตัวแบบ
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการจูงใจ เมื่อเด็กสังเกตตัวแบบและจดจำข้อมูลไว้ และเมื่อเผชิญสถานการณ์ ถ้าหากมีการจูงใจและเด็กคาดว่าจะได้รับการเสริมแรง เด็กจะแสดงพฤติกรรมออกมา ดังนั้นถ้าหากเด็กแสดงพฤติกรรมดี จึงควรได้รับผลในลักษณะการเสริมแรงเหมือนตัวแบบได้รับ การจูงใจจึงเป็นสิ่งสนับสนุนให้เด็กแสดงพฤติกรรมจริยธรรม
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการจูงใจ เมื่อเด็กสังเกตตัวแบบและจดจำข้อมูลไว้ และเมื่อเผชิญสถานการณ์ ถ้าหากมีการจูงใจและเด็กคาดว่าจะได้รับการเสริมแรง เด็กจะแสดงพฤติกรรมออกมา ดังนั้นถ้าหากเด็กแสดงพฤติกรรมดี จึงควรได้รับผลในลักษณะการเสริมแรงเหมือนตัวแบบได้รับ การจูงใจจึงเป็นสิ่งสนับสนุนให้เด็กแสดงพฤติกรรมจริยธรรม
จากทฤษฎีทั้ง 3 ทฤษฎีข้างต้น
จึงนำมาใช้ในการพัฒนาให้เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรม จริยธรรมโดยการใช้ตัวแบบที่ดี
การสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากกระทำตามตัวแบบ การให้การเสริมแรง
เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมดี
และการลงโทษหรือให้เห็นตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมไม่ดีแล้วถูกลงโทษ เมื่อต้องการการหยุดยั้งหรือระงับพฤติกรรมที่ไม่ดี
ทั้งนี้ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดเด็กจึงเป็นบุคคลสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมจริยธรรมที่เป็นที่ยอมรับและถือว่ามีคุณค่าแก่สังคมนั้น
ๆ โดยนำมาจัดเป็นแบบให้กับเด็ก กำหนดให้เด็กประพฤติ
ปฏิบัติและสร้างกฎเกณฑ์ของการประพฤติ เนื่องจากเด็กปฐมวัย
ยังไม่สามารถตัดสินความถูกผิดอย่างมีเหตุผลด้วยตนเอง
แต่จะประพฤติปฏิบัติตามความเห็นของผู้ใหญ่
การกำหนดพฤติกรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมจากการกำหนดของผู้ใหญ่
ดังนั้น ผู้ใหญ่จึงต้องเป็นผู้ไตร่ตรองพิจารณาสิ่งที่นำสอนเด็ก
โดยเลือกพฤติกรรมจริยธรรมที่สอดคล้องกับวัยที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้
ทั้งนี้พฤติกรรมจริยธรรมดังกล่าวจะเป็นทั้งจริยธรรมที่นำไปสู่การสร้างประโยชน์สุขทั้งส่วนตัวของเด็กและประโยชน์สุขของสังคม
เช่น การพึ่งพาตนเอง การรู้จักหน้าที่ของตน การยอมรับผลการกระทำ
การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อกำหนดที่ตกลงกัน การตัดสินสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
ไม่ตัดสินเข้าข้างตนเอง หรือยึดความเป็นพวกพ้อง ความซื่อสัตย์
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การไม่พูดเท็จ การไม่พูดจาให้ผู้อื่นเสียใจ หรือเสียหาย
การไม่ทำร้ายผู้อื่นทั้งการกระทำ การคิด การพูด การกตัญญูรู้คุณ ฯลฯ
ทั้งนี้การพิจารณาคัดเลือกจริยธรรมที่เหมาะสมกับเด็กอาจเป็นเรื่องยากเนื่องจากเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม
แต่มีแนวปฏิบัติง่าย ๆ ที่นำมาใช้คือ การนำแนวปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา
ซึ่งเด็กเองได้พบเห็นและปฏิบัติอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน มากำหนด รวมทั้ง
การประพฤติปฏิบัติในสังคมที่แวดล้อมเด็ก เช่นการปฏิบัติตามศีลห้า
การมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ เป็นต้น
วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
เมื่อเลือกพฤติกรรมจริยธรรมที่ต้องการพัฒนาให้เด็กปฐมวัยได้แล้ว
ผู้สอนจะนำทฤษฎีการพัฒนาจริยธรรม มาสู่การออกแบบการสอน ดังนี้
1. การใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ ทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้สิ่งของที่เด็กพึงพอใจเสมอไป การให้รางวัลในที่นี้หมายรวมถึงการให้คำชมเชย ยกย่อง ยอมรับ การแสดงความชื่นชมที่เหมาะสม ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป ส่วนการลงโทษก็มิได้หมายถึงการทำโทษทางกายและทางใจให้เด็กเจ็บปวด หรืออับอายขายหน้า อาจเป็นเพียงการงดหรือยกเว้นสิทธิบางอย่าง การไม่ให้ความสำคัญ หรือลดความสำคัญลง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการชี้แจงให้เหตุผล ทั้งนี้ ข้อแนะนำในการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีดังนี้
1.1 ต้องยึดหลักความชัดเจนของข้อกำหนดว่าสิ่งใดเป็นพฤติกรรมดีหรือไม่ดี และต้องให้เด็กรับทราบ
1.2 ยึดความเป็นระบบ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการชัดเจนว่า เมื่อใดจะได้รางวัล และเมื่อใดจะมีผลถึงการลงโทษ
1.3 ยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
1.4 ยึดหลักความทันที โดยต้องตอบสนองทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรม เพื่อให้รับรู้ผลการกระทำของตน
1. การใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ ทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้สิ่งของที่เด็กพึงพอใจเสมอไป การให้รางวัลในที่นี้หมายรวมถึงการให้คำชมเชย ยกย่อง ยอมรับ การแสดงความชื่นชมที่เหมาะสม ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป ส่วนการลงโทษก็มิได้หมายถึงการทำโทษทางกายและทางใจให้เด็กเจ็บปวด หรืออับอายขายหน้า อาจเป็นเพียงการงดหรือยกเว้นสิทธิบางอย่าง การไม่ให้ความสำคัญ หรือลดความสำคัญลง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการชี้แจงให้เหตุผล ทั้งนี้ ข้อแนะนำในการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีดังนี้
1.1 ต้องยึดหลักความชัดเจนของข้อกำหนดว่าสิ่งใดเป็นพฤติกรรมดีหรือไม่ดี และต้องให้เด็กรับทราบ
1.2 ยึดความเป็นระบบ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการชัดเจนว่า เมื่อใดจะได้รางวัล และเมื่อใดจะมีผลถึงการลงโทษ
1.3 ยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
1.4 ยึดหลักความทันที โดยต้องตอบสนองทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรม เพื่อให้รับรู้ผลการกระทำของตน
2. การใช้ตัวแบบ
หลักการสำคัญของตัวแบบคือ ต้องเลือกตัวแบบที่เด็กสนใจ
ซึ่งจะมีแนวโน้มที่จะลอกเลียนแบบ
และการใช้ตัวแบบนั้นจะต้องให้เด็กได้เผชิญกับตัวแบบที่แสดง
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเด็กจดจำพฤติกรรมได้
3. การสอนโดยการให้แสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ที่มีข้อขัดแย้งทางจริยธรรม
ทั้งนี้ในระดับปฐมวัย อาจใช้สถานการณ์ที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน หรือใช้นิทาน
แล้วให้เด็กแสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหา
ซึ่งวิธีการนี้แม้จะไม่เป็นไปตามแนวคิดในทฤษฎีทางจริยธรรมที่ระบุว่าเด็กปฐมวัย
ยังไม่สามารถตัดสินความถูกผิดทางจริยธรรมได้ด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง
มักระบุเหตุผลตามการรับรู้ของตนมากกว่าข้อเท็จจริง
แต่การสอนโดยการให้แสดงความคิดเห็น
ครูจะใช้การกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่สูงกว่าเดิม
เพื่อให้เด็กได้รับรู้เหตุผลตามความเป็นจริง
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยจะมีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน
ดังนี้
1. การรับรู้ เกิดจากการที่เด็กได้รับประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมแล้วเกิดความเข้าใจ ยินดีที่จะเรียนรู้ และสนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีการเตรียมตนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
2. การตอบสนอง เมื่อได้รับรู้เรื่องที่สนใจแล้วเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ถ้าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการ จะมีการตอบสนองทางบวก เต็มใจที่จะตอบสนอง และมีความพึงพอใจในการตอบสนองในเรื่องนั้น
3. การสร้างค่านิยม เมื่อได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อมและได้ตอบสนองจะเกิดเป็นค่านิยม และหากค่านิยมนั้นเป็นสิ่งที่เด็กพึงพอใจ จะเกิดการยอมรับค่านิยม ทั้งนี้การยอมรับค่านิยม อาจจะมีมากกว่าหนึ่งอย่างก็ได้ ทั้งนี้เด็กอาจแสดงออกมาให้เห็นถึงการปฏิบัติซ้ำ ๆ จนเป็นที่สังเกตเห็นได้
1. การรับรู้ เกิดจากการที่เด็กได้รับประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมแล้วเกิดความเข้าใจ ยินดีที่จะเรียนรู้ และสนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีการเตรียมตนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
2. การตอบสนอง เมื่อได้รับรู้เรื่องที่สนใจแล้วเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ถ้าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการ จะมีการตอบสนองทางบวก เต็มใจที่จะตอบสนอง และมีความพึงพอใจในการตอบสนองในเรื่องนั้น
3. การสร้างค่านิยม เมื่อได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อมและได้ตอบสนองจะเกิดเป็นค่านิยม และหากค่านิยมนั้นเป็นสิ่งที่เด็กพึงพอใจ จะเกิดการยอมรับค่านิยม ทั้งนี้การยอมรับค่านิยม อาจจะมีมากกว่าหนึ่งอย่างก็ได้ ทั้งนี้เด็กอาจแสดงออกมาให้เห็นถึงการปฏิบัติซ้ำ ๆ จนเป็นที่สังเกตเห็นได้
4. การจัดระเบียบ
หลังจากสร้างค่านิยม และยอมรับค่านิยมแล้ว จะนำมาคิดพิจารณาและรวบรวมค่านิยม
นำมาจัดระบบระบบค่านิยม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก
อาจจะยังยากที่จะสังเกตเห็นในระยะปฐมวัย
5. การสร้างลักษณะนิสัย เป็นขั้นตอนหลังจากนำค่านิยมที่ดีอย่างหลากหลายมาจัดเป็นระเบียบ และนำมาเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติ สร้างเป็นหลักยึดในการตัดสินใจ และแสดงถึงลักษณะนิสัย
ทั้งนี้จากขั้นตอนดังกล่าวแสดงถึงการพัฒนาจริยธรรม ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติค่อนข้างยาวนาน จนกว่าจะเกิดเป็นลักษณะนิสัยที่แสดงถึงการมีจริยธรรม การมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี แต่แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลา หากเด็กได้รับการวางรากฐานทางจริยธรรมที่เหมาะสมแล้วย่อมนำพาให้เด็กได้รับความสุขความเจริญ เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาเด็กนอกจากพัฒนาการโดยทั่วไปแล้ว ก็ควรส่งเสริมและพัฒนาทางด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายของการให้เด็กได้เติบโตขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
5. การสร้างลักษณะนิสัย เป็นขั้นตอนหลังจากนำค่านิยมที่ดีอย่างหลากหลายมาจัดเป็นระเบียบ และนำมาเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติ สร้างเป็นหลักยึดในการตัดสินใจ และแสดงถึงลักษณะนิสัย
ทั้งนี้จากขั้นตอนดังกล่าวแสดงถึงการพัฒนาจริยธรรม ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติค่อนข้างยาวนาน จนกว่าจะเกิดเป็นลักษณะนิสัยที่แสดงถึงการมีจริยธรรม การมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี แต่แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลา หากเด็กได้รับการวางรากฐานทางจริยธรรมที่เหมาะสมแล้วย่อมนำพาให้เด็กได้รับความสุขความเจริญ เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาเด็กนอกจากพัฒนาการโดยทั่วไปแล้ว ก็ควรส่งเสริมและพัฒนาทางด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายของการให้เด็กได้เติบโตขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
คุณธรรมพื้นฐาน 8
ขยัน
คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม
มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ
ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง
ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
มีวินัย คือ
การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ
ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ
ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ
โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
สุภาพ
คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ
และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย
สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ
สามัคคี
คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้อง การ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้อง การ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
มีน้ำใจ คือ
ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ
เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ
ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น
และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ
ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา
ลงมือปฏิบัติการ เพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
ภาพสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียน
ภาพบรรยากาศในห้องเรียน
ภาพบรรยากาศในห้องเรียน
ความหมายและความสำคัญของการจัดสิ่งเวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
นักทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องเเละเเบ่งเป็นแต่ละขั้นรวมทั้งคุณธรรม 8 ประการ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนเข้าใจในเนื้อหา อธิบายเข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่เรียนและคำถามของนักศึกษา
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนเข้าใจในเนื้อหา อธิบายเข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่เรียนและคำถามของนักศึกษา
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนแต่ก็มีส่วนน้อยที่คุยกัน
ประเมินตนเอง
ประเมินตนเอง
เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนพอสมควร
บรรยากาศ
อากาศดี มีสีสัน ในห้องเรียน
บรรยากาศ
อากาศดี มีสีสัน ในห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น